ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glasssnode ในสัปดาห์ที่ 33
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาทิตย์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของ Bitcoin ที่สามารถวิ่งอยู่ในกรอบ $42,924 ถึง $47,831 นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของตลาดที่สามารถดีดตัวจาก $29.7k ในช่วงกรกฎาคมได้อีกด้วย

หลังจากที่ทางประเทศจีนได้ทำการแบนการขุด Bitcoin ส่งผลให้นักขุดต่างๆได้อพยพออกจากประเทศจีนจึงทำให้ในช่วงเดือนกรกฎาคม hash-rate (กำลังการคำนวณที่นักขุดใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกรรม) ปรับตัวลดลงมากว่า 50% จากเดือนพฤษภาคมที่จุดสูงสุดที่ 180EH/s กลับมาในปัจจุบันที่ has rate อยู่ที่ราวๆ 112.5 EH/s ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา hash-rate ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจุดตำ่สุดขึ้นมาถึง 25% ซึ่งหนึ่งในความเป็นไปได้คือการที่นักขุดกว่า 12.5% กลับมา online อีกครั้ง

ทาง glassnode จึงได้นำอินดิเคเตอร์ชื่อว่า Hash ribbon หรือ การนำเอาค่าเฉลี่ย 30 และ 60 วันมาทำเปนกราฟนั่นเอง ซึ่งถ้าจะนำมาอธิบายให้เข้าใจแบบสั้นๆก็คือ ถ้าเส้นค่าเฉลี่ย 30 วัน (เส้นสีน้ำเงิน) อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 60 วัน (เส้นสีเขียว) นั่นเป็นสัญญาณถึง hash-rate recovery แต่ทว่าถ้ากลับกัน เส้นค่าเฉลี่ย 60 วันยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 30 วันได้ ถือเป็นสัญาณที่บ่งบอกว่าอาจจะเกิดแรงเทขายเนื่องจากกาที่นักขุดทำรายได้ได้น้อยลงนั่นเอง

โดยทาง glassnode สามารถคอนเฟิร์มเรื่อง hash-rate recovery ได้โดยการนำสัดส่วนระหว่างรายได้ของนักขุดทั้งหมดในหน่วย BTC และ จำนวน active hash-rate มาคำนวณเพื่อหาจำนวณของ BTC/hash of mining power
ในเดือนพฤษภาคม 2020 หลังจากเกิดการอพยพของนักขุดในประเทศจีนทำให้รายได้ของนักขุดลดลงจาก 9.5 BTC/EH เหลือเพียง 5.6 BTC/EH หลังจากเหตุการณ์นี่เองจึงได้เกิด difficulty adjustment โดยส่งผลให้รายได้ของนักขุดที่ยัง online อยู่เพิ่มขึ้นถึง 57% หรือราวๆ 8.8 BTC/EH

จากเหตุการณ์เบื้องต้นทำให้ net position ของทางนักขุดปรับตัวขึ้นในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาและสามารถแตะที่ +5k BTC/month ได้
หนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญคือ Bitcoin Realised Cap แล้วตัว Realised Cap สามารถบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง
- กราฟ Realised Cap ขาขึ้น: หมายความว่าเหรียญถูกสะสมในราคาที่ถูกกว่าปัจจุบันละกำลังถูกนำมาขายเพื่อทำกำไร
- กราฟ Realised Cap ขาลง: เหรียญถูกสะสมในราคาที่ค่อนข้างสูงทำให้เกิดการขายและเกิดการ net realised loss หรือ ตลาดขาลงนั่นเอง
Realised Cap เริ่มที่จะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและทำ ATH ที่ $379B

ย้อนกลับไปในช่วงพฤษภาคมที่ตลาดเริ่มปรับตัวลงทำให้ net realized profit/loss ปรับตัวลดลงไปอยู่ในช่วง $0.5 – $1B losses แต่ในปัจจุบันนี่ net realized profit/loss ได้ทำการปรับตัวกลับขึ้นมาอยู่ในช่วง recovery ที่ราวๆ $0.5B profits

ในกราฟ exchange inflow/outflow ของ Bitcoin 14วัน เห็นได้ชัดว่าการไหลออก (เส้นสีเขียว) ของ Bitcoin จาก exchanges ต่างๆลดลง แต่ในทางกลับกันการไหลเข้า (เส้นสีแดง) กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งทาง glassnode ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า larger size buyers อยู่ในช่วงที่กำลัง hodl และสะสมแต่ small size buyers กลับอยู่ฝั่ง distribution side แทน

กราฟและข้อมูลข้างต้นนั้นยังสอดคล้องกับ Exchange net position change ของตัว BTC อีกด้วย ในกราฟข่างล่างนี้เราจะเห็นได้ว่าในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ราคาปรับตัวลดลงมามีการไหลเข้าของ BTC ไปยัง exchanges ต่างๆอย่างเห็นได้ชัด (กราฟแท่งสีเขียว) กลับกันในปัจจุบันมีการไหลออกของ BTC จาก exchanges มากถึง 100k BTC/month เช่นเดียวกันกับในช่วงปลายปี 2020

หลังจาก BTC ทำจุดต่ำสุดที่ $29.7k ในเดือนกรฎาคมและปรับตัวขึ้นมาที่ $47k ในปัจจุบัน ทำให้เหรียญกว่า 19.2% ของ circulating supply กลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง
อีกหนึ่ง indicator ที่ทาง glassnode นั่นได้พูดถึงคือ NUPL หรือ net unrealized profit/loss โดยที่ indicator นี้ได้กลับมาวิ่งแตะ 0.5 อีกครั้ง หมายความว่า มีเหรียญราวๆ 50% ที่ยังเป็น unrealized profits อยู่นั่นเอง

สรุป
ในสัปดาห์ที่ 33 นี้ทาง glassnode ได้พูดถึงการกลับมาของค่า hash-rate จากนักขุดหลังเกิดการแบนในประเทศจีน การไหลเข้าและไหลออกของ BTC ใน exchanges และการที่ net realized profit กลับขึนมาอยู่ในช่วง recovery หรือราวๆ $0.5B นั่นเอง ทำให้เห็นว่าคนเริ่มกลับมาทำกำไรกลับตัว BTC ได้เพิ่มขึ้นรวมถึงนักขุดที่ได้ revenue per hash เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Glassnode On-chain Report week 33