สรุปออนไลน์เวิร์คชอป EP3 เครื่องมือในการใช้งาน Trezor

เครื่องมือในการบริหารจัดการ Trezor

Date

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email
Spread the love

บทความนี้ผมได้มีโอกาสสรุปเนื้อหาใน ออนไลน์เวิร์คชอป EP3 เครื่องมือในการใช้งาน Trezor และคำถามจากเพื่อนๆ

1) สรุปหัวข้อที่จะพูดถึงในวันนี้ มีเรื่อง 1. เครื่องมือในการจัดการ 2. อธิบายเรื่อง Seed Words, 3. Hidden Wallet และถามตอบ

2) ให้ลองหาข้อมูลเบื้องต้นในช่อง Bitcast ว่ามี VDO นี้อยู่แล้วหรือยังโดยให้ไป Click ที่รูป แว่นขยายเพื่อค้นหา

3) เครื่องมือในการจัดการ มี wallet.trezor.io มี Trezor Suite บน Desktop Application และ Trezor Suite บนเว็บ

4) wallet.trezor.io จำเป็นจะต้องลง Driver ก่อน ที่ชื่อว่า Trezor Bridge

5) Trezor suite เป็น version ทำเพื่อให้รองรับ Web USB ซึ่งสามารถใช้บน Chrome ในมือถือ Android ได้ผ่าน สาย USB to Go สาวก IOS ใช้ไม่ได้นะครับ

6) ถ้าใช้ Trezor Suite แล้วมีปัญหาให้ลองกลับมาใช้ wallet.trezor.io เนื่องจาก Application ค่อนข้างนิ่งมาก

7) Trezor bridge เป็นเหมือน Driver ของ Trezor ทำให้มันมีปัญหาน้อยในเรื่องการเชื่อมต่อกับ Window เมื่อเทียบกับ Ledger

8) Trezor จะมีระบบกันการสุ่ม PIN โดยทุกครั้งที่สุ่ม PIN แล้วผิด Trezor จะบวกเวลาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อชะลอพวกที่คิดจะโจรกรรม หรือ ถ้าเราทำหายใครได้ไปก็สุ่มได้ยาก เป็นการหน่วงเวลาให้เรามีเวลาโอนสินทรัพย์ออก ด้วยการไป Recovery seed ที่เครื่องใหม่

9) ถ้ามีปัญหาในการเชื่อมต่อให้ลองเปลี่ยนสาย เปลี่ยนพอร์ตก่อน ใน Live โชว์เรื่องปัญหาสายคา Live  เลย

10) คำว่า Backup ของ Trezor หมายถึงการจด Recovery Seed

11) Recovery Seed ไม่ควรทำเป็น Digital Copy เช่นถ่ายรูป หรือ Save เป็น Text file

12) wallet.trezor.io จะไม่ได้เอา function passphrase มาอยู่ด้านหน้าต่างจาก Trezor Suite ที่เอามาไว้ด้านหน้าที่ให้คนใช้กันโดยไม่รู้ว่ามันเอาไว้ทำอะไร

13) หลายๆ คนที่เคยใช้ wallet.trezor.io แล้วไม่เคยใส่ Passphrase ไปอัพเดต firmware ด้วย Trezor Suite มันให้ใส่ Passphrase มันเลยทำให้คนส่วนนึงหากระเป๋าไม่เจอ

14) Trezor มีฟังก์ชั่นสำหรับการตรวจสอบว่า Seed ตรงหรือไม่ เพื่อ Seed ที่เราจดกับใน Trezorกับใน Trezor เป็นอันเดียวกัน ใน Trezor One ควร Check ด้วย Advanced Mode เพราะการ Key บน Browser มีความเสี่ยงที่จะทำให้ Seed หลุดได้ ต้อง Key ที่ Hardware Wallet เท่านั้น

​15) Seed จดแค่สี่ตัวอักษรก็เพียงพอที่จะทำให้คำไม่ซ้ำกันแล้ว

16) เราสามารถล้างเครื่อง Trezor ได้ด้วย Function Wipe Data เพื่อทำการ Gen Seed ใหม่ ในกรณีที่  Seed เดิมไม่ปลอดภัย หรือไม่ต้องการ Seed เดิมแล้ว

17) Standard Wallet กับ Hidden Wallet ใช้ Seed ชุดเดียวกัน แต่ Hidden Wallet จะบวก Passphrase เข้าไปด้วย

18) เวลารับ BTC หลังจากสร้างกระเป๋าสำหรับรับแล้วเมื่อมีการโอนเข้ามา หากมีการรับครั้งถัดไปมันจะสร้างกระเป๋าใหม่ขึ้นมาเพื่อความปลอดภัย

19) ค่า Fee หรือค่าธรรมเนียมจะเป็นตัวบอกว่าคุณจะส่งได้ไวหรือช้า ถ้าจ่ายค่าธรรมเนียมแพงการทำธุรกรรมก็จะไวขึ้น

20) คำเตือนข้อที่หนึ่งถ้าเราไม่รู้ว่าผลลัพธ์มันเป็นยังไงให้ลองแต่น้อยก่อน

21) คำเตือนข้อที่สองให้เราตรวจสอบว่า ห้าตัวแรกกับห้าตัวสุดท้ายว่าตรงกันหรือไม่ ตรวจสอบ Network ตรวจสอบยอดก่อนโอน

22) เราสามารถใช้ Trezor สองอันใส่ Seed เดียวกันได้ และ U2F ก็จะเป็นอันเดียวกันด้วย

23) Bitcoin บน Wallet.trezor.io รองรับได้ไม่เท่ากันกับ Trezor Suite แต่สามารถส่งหากันไดั

24) ไม่ว่าจะใช้ Trezor Suite หรือ Metamask ในการใช้งาน Trezor ความปลอดภัยไม่ต่างกัน เพราะ Private Key อยู่ที่เดียวกันคือ อยู่ใน Trezor 

25) Metamask เก่งกว่า Trezor Suite ในแง่ของการบริหารจัดการ Token

26) แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของ derivation paths 27) วิธีตรวจสอบว่า Trezor รองรับเหรียญอะไรบ้างได้ที่ URL นี้ครับ https://trezor.io/coins/

ออนไลน์เวิร์คชอป EP3 เครื่องมือในการใช้งาน Trezor และคำถามจากเพื่อนๆ

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

More
articles