ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 46
ในสัปดาห์ที่ 46 ของปี 2021 นี้ราคาของลูกพี่ใหญ่ Bitcoin ได้พุ่งทำ ATH อีกครั้งที่ $68,742 แต่หลังจากที่ได้ทำ ATH ไปไม่เท่าไหร่ ราคาก็ทยอยปรับตัวลงและจุดต่ำสุดของสัปดาห์นี้อยู่ที่ $62,401
นอกจากที่ BTC ทำ ATH แล้ว ในอาทิตย์นี้ยังมีอีกหนึ่งเหตุการ์ณสำคัญนั่นก็คือ ‘Bitcoin Taproot upgrade’ โดยที่ทางเราได้ทำโพสเกี่ยวกับ Bitcoin Taproot upgrade ไปเป็นที่เรียบร้อย หากใครสนใจที่จะอ่านเพิ่มเพิ่มสามารถคลิ้กได้เลยย

จุดเปลี่ยนของการใช้เงิน
เมื่อเรามาดูที่อายุขัยของเหรียญหรือ CDD (coin day destroy) เราจะเห็นได้ว่าในช่วงหลังมานี่มีราวๆ 12.5 M CDD ซึ่งปรับตัวขึ้นจากเดือนกรกฎาคมและกันยายนที่เคยอยู่ราวๆ 10M CDD
CDD คืออะไร สมมุติว่าเรามี 1 BTC ที่พึ่งซื้อมาหนึ่งวันเท่ากับว่าเหรียญนั้นก็จะมีอายุเท่ากับ 1 coin day ถ้าเวลาผ่านไปสามวันก็จะเท่ากับ 3 coin days ส่วนเมื่อเราทำการขาย BTC ออกไปนั้นอายุของเหรียญก็จะกลับไปที่ 0 เช่นเดิม ดังนั้น CDD ก็คือจำนวนอายุทั้งหมดของเหรียญที่ถูกขายในวันนั้นๆ

เพื่อเป็นการสนับสนุน CDD ทาง glassnode ได้พูดถึงอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่คล้ายๆกันนั่นก็คือ Binary CDD ซึ่งในปัจจุบันค่า Binary CDD ได้มีการปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยถือว่าเป็นสัญญาณของการที่ old coins เริ่มถูกนำมาใช้นั่นเอง

เมื่อเรามามองในภาพที่ใหญ่ขึ้น ในกราฟ liveliness จะสามารถแบ่งออกมาเป็นสองเทรนหลักๆได้นั่นก็คือ
- กราฟทำเทรนขาลง – คนส่วนใหญ่กำลัง HODL
- กราฟทำเทรนขาขึ้น – ค่า CDD เริ่มสูงขึ้นและคนเริ่มที่จะขายเหรียญกันมากขึ้น
ในปัจจุบันกราฟ liveliness เริ่มมีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยแสดงให้เห็นถึงการเทขายของเหรียญในช่วงที่ผ่านมา

glassnode ได้นำเสนอ metric ใหม่นั่นก็คือ Binary liveliness โดยที่ค่าหลักๆในกราฟนี้จะมีอยู่สองค่าด้วยกันนั่นก็คือ 0 และ 1 โดย 0 จะสื่อถึงการสะสมของเหรียญและ 1 แสดงถึงการขายเหรียญนั่นเอง ในกราฟข้างล่างนี้จะมีเส้นอยู่สองเส้นหลักๆด้วยกันก็คือ
- เส้นสีเขียว: ถ้าหากค่า liveliness สูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 วัน เส้นสีเขียวจะวิ่งเข้าหาค่า 1 ถ้าไม่จะวิ่งเข้าหา 0
- เส้นสีน้ำเงิน: ถ้าหากค่า liveliness สูงกว่าค่าของวันก่อน เส้นสีน้ำเงินจะวิ่งเข้าหาค่า 1 ถ้าไม่จะวิ่งเข้าหา 0 (นำค่าเฉลี่ย 7 วันมาคิด)
ถ้าหากเราสังเกตุเส้นทั้งสองเส้นในกราฟนี้ เราจะเห็นว่าทั้งคู่นั่นอยู่ในเทรนปรับตัวขึ้น แต่ยังถือว่าไม่ได้ปรับตัวขึ้นรุนแรงขนาดจึงทำให้ไม่ได้น่าเป็นห่วงขนาดนั้นเพราะถ้าหากว่าเราอยู่ในช่วง pre bull market กราฟเหล่านี้อาจจะวิ่งอยู่ราวๆนี้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ก็เป็นได้

การประมาณของ capital inflows
ปัจจุบันกราฟ Realized cap หรือกราฟที่สะท้อนว่าการขายเหรียญแต่ละครั้งนั้นกำไรหรือขาดทุน ถ้าหากกำไร มูลค่านั้นก็จะถูกเพิ่มเข้าไปใน realized cap และกลับกันถ้าขาดทุน มูลค่านั้นก็จะถูกนำมาหักลบเพื่อแสดงถึง capital outflow แทน โดยที่ปัจจุบัน Realized cap อยู่ที่ราวๆ $450B เรียกว่าเพิ่มขึ้นกว่า $50B จาก high เดิมในเดือนพฤษภาคม

ใน daily total realize profit/loss เราจะเห็นว่าในช่วงนี้มีคน realized profit อยู่ทั้งหมดราวๆ $1.9B ต่อวันและ realized loss ประมาณ $0.24B

เมื่อเราเปรียบเทียบปัจจุบันกับ bull market ในปี 2017 และ 2021 เราจะเห็นว่าในตลาด bull market ทั้งสองครั้ง Realized PnL นั้นจะมีค่ามากกว่า 0.3% เมื่อเทียบกับ market cap และมากกว่า 1% เมื่อเทียบกับ Realised cap
ปัจจุบันนี้ค่า Realized PnL เมื่อเทียบกับทั้ง market cap และ realized cap แล้วยังต่ำกว่าเกณฑ์ราวๆ 50% โดยเมื่อเทียบกับ market cap แล้วจะอยู่ที่ 0.14% และ 0.4% เมื่อเทียบกับ Realized cap เลยยังถือว่าเป็นสัญญานที่ดีเนื่องจากตลาดยังคงมีแรงพอที่จะรับทั้งแรงซื้อและแรงขายอยู่นั่นเอง

จุดสูงสุดในรอบนี้
ตัวชี้วัดแรกที่นำมาใช้เพื่อหาจุดสูงสุดของตลาดรอบนี้ก็คือ mayer multiple โดยเป็นการนำค่าเฉลี่ย 200 วันมาคิดกับค่า mayer multiple ที่ 2.4
หลังจากที่คำนวณออกมา ในรอบนี้คาดว่าจุดสูงสุดอาจจะอยู่ที่ $110k แต่ว่าจุดสูงสุดนี้อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ย 200 วัน

model ต่อไปก็คือ Top price model จาก Willy Woo โดยนำราคาเฉลี่ยตลอดกาลหรือ all time average ที่ $6.1k มาคูณกับ 35 แล้วจะได้จุดสูงสุดอยู่ที่ $214k

ใน model ถัดมาหรือ MVRV Z-Score เป็นการนำn normalisation ใน สถิติมาคิดเพื่อหาว่ามี standard deviation กี่จุดที่ห่างกับ realized price
เพื่อให่เข้าใจง่ายๆ ในกราฟข้างล่างนี้ในจะถูกแบ่งออกเป็นสองโซน
- โซนสีแดง: โซนที่มี unrealised profit ค่อนข้างเยอะจึงทำให้มีแรงเทขายค่อนข้างมาก
- โซนสีเขียว: โซนที่มี unrealised loss ค่อนข้างเยอะ
ซึ่งในปัจจุบันค่า MVRV Z-score อยู่ช่วงตรงกลางพอดีหลังจากผ่านช่วงเทขายมาในเดือนเมษายน

ใน RHODL ratio หรือ Realized HODL ratio จะนำสัดส่วนของ 1 สัปดาห์ถึง 1 ปีใน Realized Cap HODL waves band มาคิด โดยที่สรุปง่ายๆค่า RHODL จะปรับตัวขึ้นเมื่อ young coins มีจำนวนสูงขึ้น

Model สุดท้ายที่ทาง glassnode ได้กล่าวถึงคือ Reserve risk components เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเข้าใจ ถ้านักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะ HODL ค่า reserve risk (เส้นสีดำ) จะปรับตัวลงและกลับกันเมื่อราคาปรับตัวขึ้น นักลงทุนขายทำกำไร ค่า reserve risk ก็จะปรับตัวขึ้นเช่นกัน

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้พูดถึงสามอย่างหลักๆด้วยกัน
- การที่นักลงทุนขายเหรียญกันมากขึ้นส่งผลให้ค่า CDD หรือ coin day destroyed เพิ่มขึ้นในช่วงนี้
- การประมาณขนาดของ capital inflow เนื่องจากมีนังลงทุนรายใหม่เข้ามาทยอยช้อนซื้อเหรียญอย่างต่อเนื่อง
- Model ต่างๆที่ทาง glassnode ได้นำใช้เพื่อพูดถึง cycle tops หรือ จุดสูงสุดของราคาในตลาดรอบนี้
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 46
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่