ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 49
ราคาของ Bitcoin ใน timeframe 1 เดือน ปิดด้วยความผันผวนที่สูงและราคาปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดว่าอาจจะเป็นผลมาจาก FED และ การกระจายตัวของ Omicron
ในสัปดาห์ที่ 49 นี้ ราคาของ BTC เปิดตัวใน timeframe สัปดาห์อยู่ที่ $54,815 และปรับตัวขึ้นจนไปทำ high ของสัปดาห์ที่ $59,041 ก่อนที่จะเกิดการเทขายอย่างหนักในวันเสาร์ทำให้ราคาปรับตัวลดลงไปถึง $45,032 หรือ -34.5% จาก ATH

ตลาด Derivatives
หลังจากที่แนวรับ รับแรงขายไม่อยู่ทำให้ราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง ภายในหนึ่งชั่วโมงมี Futures open interets กว่า $5.4B โดน liquidated หรือเทียบเป็น 24.5% ของทั้งหมด

เมื่อนำมูลค่าของสัญญาที่ถูกปิดไปมาเทียบเป็นในหน่วย BTC จะเท่ากับราวๆ 58,202 BTC ถือว่าเป็นการ liquidated ที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของปี 2021 โดยที่การ liquidated ที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นการเทขายในวันที่ 19 พฤษภาคมที่มีมูลค่าสูงถึง 79,244 BTC
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเหตุการ์ณที่สามารถเห็นได้ชัด
- 12 พฤษภาคม – Tesla เลิกรับชำระด้วย Bitcoin
- 26 กรกฎาคม – เกิดการ short squeeze จึงทำให้ราคาปรับตัวจาก low ในช่วง summer ได้
- 7 กันยายน – El Savaldor ให้ Bitcoin ถูกกฏหมาย

ไม่ใช่เพียงตลาด futures ที่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ตลาด Options ก็มี volumes ที่สูงเช่นกัน นับตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาการเทขายในวันเสาร์ที่ผ่านมาทำให้ตลาด options มี volume ต่อชั่วโมงสูงที่สุดเป็นอันดับสอง ซึ่งมีมูลค่ากว่า $1.7B ต่อชัวโมง
Volume ในตลาด options ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกรกฎาคมโดยที่ปัจจุบันอยู่ราวๆ $1B ต่อวันหรือเพิ่มขึ้นกว่า 250%

Funding rates รีเซ็ต
หลังจากที่มีกว่า $5.4B ใน Open Interest ถูกล้างไป ส่งผลให้ Perpetual funding rates ลดลงมาอยู่ที่ 0.035% ถือว่าเป็นการรีเซ็ตหรือการที่ fundings rates กลับมาติดลบในรอบหลายเดือน โดยคร้ังล่าสุดคือในเดือนกันยายน
การที่ funding rate เป็นบวกหมายถึงผู้ที่ถือสัญญา long จะต้องจ่าย funding rate ให้ผู้ที่ถือสัญญา short ส่วนการที่ funding rate เป็นลบก็หมายถึง ผู้ที่ถือสัญญา short จะต้องจ่าย funding rate ให้กับผู้ที่ถือสัญญา long นั่นเอง

ในกราฟ Futures long liquidation dominance ถ้าเกิดกราฟวิ่งต่ำกว่า 50% จะหมายถึงว่าสัญญาส่วนใหญ่ที่ถูก liquidated คือสัญญา short และถ้าหากกราฟวิ่งสูงกว่า 50% ก็จะหมายถึงสัญญาส่วนใหญ่ที่ถูก liquidated คือสัญญา long นั้นเอง
หลังจากที่ราคาทยอยปรับตัวขึ้นจาก low ในเดือนกรกฎากราฟ Futures long liquidation dominance พยายามปรับตัวขึ้นมาทดสอบแนวต้านหลายครั้งจนกระทั่งสามารถผ่านแนวต้านไปได้ในเดือนตุลาคม
หมายความว่าตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมจนถึงกันยายน สัญญาส่วนใหญ่ที่ถูก liquidated เป็นสัญญา short ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสัญญา long แทนในเดือนตุลาคม

หลังจากที่เกิดการปรับตัวลดลงของราคาในวันเสาร์ทำให้ realized loss ปรับตัวสูงขึ้นถึง $3.0B นับว่าเปนอันดับสามในปีนี้หลังจาก $4.5B ในวันที่ 19 พฤษภาคม และ $3.8B ในเดือนมิถุนายน

Supply dynamics
เมื่อเรามาดู HODL waves ของเหรียญช่วงอายุต่างๆเราจะเห็นได้ว่ามีเพียง 2.63% ที่เพิ่มขึ้นมาใน่ช่วงเดือนที่ผ่านมา หมายความว่าอีก 97% ของ supply ที่อายุเยอะกว่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้หรือ spent เลยในช่วงที่ผ่านมา

เมื่อเรามาวิเคราะห์ให้ลึกขึ้นในกราฟของ dormancy ที่จะแสดงถึงค่าเฉลี่ยของอายุของแต่ละธุรกรรมต่อหน่วย BTC โดยที่การที่กราฟปรับตัวขึ้นจะหมายถึงเหรียญที่มีอายุมากขึ้นถูกนำมาใช้และกลับกันถ้ากราฟปรับตัวลงจะแสดงถึงการ spent ที่น้อยลงของ older coins
โดยที่ dormancy baseline ในปี 2020 อยู่ที่ราวๆ 40 วันแต่ปัจจุบันกับปรับตัวลดลงมาเฉลี่ยที่ 25 วัน หมายความว่าที่ผ่านมาเหรียญที่ค่อนข้างส่งผลต่อราคาของตลาดจะเป็น younger coins ซะมากกว่า

และเมื่อเรามาดูใน dormancy ของค่าธรรมเนียมในแต่ละ exchanges เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันค่า dormancy ของ exchnage fees ได้ปรับตัวลดลงมาในจุดที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2020 ซึ่งหมายถึงการลดลงของ exchange activity (ฝาก-ถอน) นั่นเอง

เมื่อเรามาเทียบอัตรา inflow และ outflow ของ BTC ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าในเดือนพฤษภาคมก่อนที่ราคาจะปรับตัวลงอย่างรุนแรงนั่นได้มี inflow ของเหรียญเข้าสู่ exchange ที่ค่อนข้างเยอะหรือราวๆ 10.4k – 13.9k แต่ปัจจุบันกลับมีเพียงราวๆ 2k – 3.2k ซึ่งสามารถตีความได้ว่าปัจจัยที่ influenced ราคาในรอบนี้อาจจะเป็นจาก derivatives market มากกว่าตลาด spot

ถ้าหาก older coins ไม่ถูกนำมาใช้ในจำนวนเยอะขนาดนั้น เหรียญส่วนใหญ่ที่ถูกนำมา spent จึงเป็น younger coins จาก STH โดยเมื่อเรามาสังเกตุในตัวชี้วัด STH SOPR
- การที่ค่า SOPR ปรับตัวเพิ่มขึ้น: เหรียญเริ่มถูกขายทำกำไร
- เด้งที่ค่า 1.0: ราคาลงมาทดสอบที่ราคาทุนของเหรียญ
- ค่า SOPR น้อยกว่า 1.0: เหรียญถูกขายขาดทุน
ซึ่งในปัจจุบันค่า SOPR ได้ปรับตัวลดลมาต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมหมายความว่ามีนักลงทุนหลายส่วนที่ตัดสินใจขายเหรียญแบบขาดทุนนั่นเอง

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้พูดถึงสองหัวข้อหลักๆนั่นก็คือ ภาพรวมของตลาด derivatives หลังจากที่เกิดการเทขายในวันเสาร์และไม่ว่าจะเป็น funding rates และ open interests ทั้งในตลาด futures และ options
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึง spending behavior ในช่วงที่ผ่านมาโดยพูดทั้งในมุมของ HODLers และ STH อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 49
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่