ภาพรวมตลาด Bitcoin สัปดาห์ที่ 50

ภาพรวมตลาดบิทคอยน์

Date

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email
Spread the love


ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 50

ในสัปดาห์ที่ 50 ราคาของ Bitcoin ยังคงมีความผันผวนอยู่ในอาทิตย์นี้โดยที่ราคาเปิดของสัปดาห์อยู่ที่ $49,368 และปรับตัวขึ้นไปทำ high ที่ $51,900 และ low ที่ $46,942

กราฟราคา Bitcoin
กราฟราคา Bitcoin

การขายเพื่อทำกำไรและการตัดสินใจขายขาดทุน

หลังจากที่ราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง มันถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดการตัดสินใจขายขาดทุน เมื่อเรามาสังเกตุใน realized loss ในรอบปีที่ผ่านมาแล้วเปรียบเทียบกับช่วงเทขายในเดือนพฤษภาคม เราจะเห็นว่าในรอบตุลาคมมีจำนวน realized loss น้อยกว่าในรอบพฤษภาคม เนื่องจากผู้คนเริ่มมีความระมัดระวังในการเทรดมากขึ้น นอกจากนี้ทาง glassnode ได้ตีความไว้ว่า จำนวน realized losses ที่เกิดขึ้นในรอบนี้ มาจากนักลงทุนที่ซื้อราคาใกล้ในช่วงใกล้ๆ ATH นั่นเอง

กราฟ realized loss
กราฟ realized loss

อีกหนึ่งข้อแตกต่างระหว่างในช่วงเดือนพฤษภาคมและในช่วงปัจจุบันก็คือในช่วงเดือนพฤษภาคมมี inflow เพิ่มขึ้นกว่า 168k BTC แต่กลับกันในปัจจุบันจำนวน BTC บน exchanges กลับลดลงกว่า 46k BTC ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับราคาของ BTC ในช่วงนี้

กราฟ balance on exchanges
กราฟ balance on exchanges

ในกราฟ transfer volume from/to exchange ค่าเฉลี่ย 7 วัน จะเห็นว่าในโดยรวมปัจจุบันยังมี outflow มากกว่า inflow อย่างชัดเจน โดยที่มี outflow ราวๆ 3 – 5k BTC ต่อวัน แต่ในการเทขายในเดือนพฤษภาคมกลับมี inflow ของ BTC เข้า exchange มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

กราฟ net transfer volume from/to exchange
กราฟ net transfer volume from/to exchange

ใน MRG หรือ Market Realised Gradient เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Market cap และ Realized cap โดยเมื่อค่าของ MRG นั่นปรับตัวสูงขึ้นจะส่งสัญญาณถึงการ overbought ของเหรียญ และในทางตรงกันข้ามถ้าหากค่าของ MRG ปรับตัวลงก็จะหมายถึงตลาดเริ่มที่จะ oversold แล้วนั้นเอง

ซึ่งในปัจจุบันค่า MRG ก้ได้ปรับตัวลงต่ำกว่าเส้น 0.0 และคาดว่าจะสร้างฐานสักพักก่อนที่จะปรับตัวขึ้นอีกครั้ง

กราฟ MRG
กราฟ MRG

ในอีกฝั่งของตลาดก็คือการขายทำกำไร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น LTH และในรอบปีที่ผ่านมา realized profit ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วง market top แต่จำนวนของ realized profit กลับปรับตัวลดลงนับตั้งแต่เดือนมกราคมอีกด้วย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าผู้ถือ Bitcoin ยังไม่สนใจที่จะขายสินทรัพย์ในช่วงราคานี้นั่นเอง

กราฟ realized profit
กราฟ realized profit

ผลที่ตามมาของการ Deleverage

หลังจากที่ open interest ปรับตัวลดลงมากว่า 50k BTC ในสัปดาห์ก่อน ปัจจุบัน open interest เริ่มปรับขึ้นกลับมาเล็กน้อยประมาณ 5k BTC ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ราวๆ 340K BTC โดยที่ก่อนหน้านี้เมื่อ open interest ปรับตัวขึ้นมากกว่า 380k BTC จะถือว่าเป็นช่วงที่มีส่วนทำให้เกิดความผันผวนของราคาในช่วงต่อมาได้นั่นเอง

กราฟ futures open interest
กราฟ futures open interest

เมื่อเราสังเกตุใน perpetual funding rates ตัว funding rates จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกับ high และ low ของช่วงนั้นๆ โดยที่จะเกิด large spike เมื่อราคาปรับตัวทำ high และ negative funding เมื่อราคาปรับตัวลดลงทำ low

นอกจากนี้ตัว funding rates เองได้ปรับตัวลงและติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะว่านักลงทุนนั่นถูกบังคับให้ปิดสัญญาลงไม่ว่าจะเป็นจากการ stop loss หรือ liquidated ก็ตาม

กราฟ Futures perpetual funding rate
กราฟ Futures perpetual funding rate

Future volume ได้ปรับตัวขึ้นมาถึงราวๆ 2 million BTC แต่ยังคงถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมาและทำเทรนลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากเดือนพฤษภาคม เราจึงสามารถตีความได้ว่า

  • นักลงทุนเริ่มที่จะไม่อยากเสี่ยง
  • นักลงทุนเริ่มสนใจ altcoins มากขึ้นจึงทำให้เงินไหลไปใน altcoins นั่นเอง
กราฟ Futures volume
กราฟ Futures volume

หนึ่งในตัวชี้วัดเพื่อดูทิศทางของตลาดก็คือ perpetual open interest ต่อ market cap โดยที่ถ้าหากว่า

  • ค่า perp oi/market cap (เส้นสีฟ้า) มากกว่า 1.3% (เส้นสีแดง) จะถือว่าในช่วงนั้นเป็นตลาด derivatives dominance
  • ค่า perp oi/market cap (เส้นสีฟ้า) น้อยกว่า 1.1% (เส้นสีเขียว) จะถือว่าในช่วงนั้นเป็นตลาด spot dominance

โดยที่ปัจจุบันค่า perp oi/market cap นั่นน้อยกว่า 1.1% จึงถือได้ว่าปัจจุบันตลาด spot มีความโดดเด่นมากกว่าตลาด derivatives นั่นเอง

กราฟ perp oi/market cap
กราฟ perp oi/market cap

ตัวชี้วัดสุดท้ายที่ทาง glassnode ได้นำมาพูดถึงก็คือ NUPL หรือ Net Unrealized /profit and loss โดยที่เมื่อเราสังเกตุในกราฟข้างล่างนี้ เราจะเห็นว่า

  • ใน bear market โซนสีน้ำเงินหรือโซนที่ unrealized profit = 50% ของ market cap จะถูกรับว่าเป็นแนวต้าน อย่างเช่นในช่วงเดือนพฤษภาคม
  • ใน bull market โซนสีน้ำเงินจะปรับตัวมาเป็นแนวรับแทน

โดยที่ปัจจุบันค่า NUPL ได้ลงมาทดสอบที่โซนนี้อีกครั้งซึ่งถ้าหากว่าครั้งนี้ไม่สามารถปรับตัวขึ้นจากโซนนี้ได้ก็อาจจะส่งผลให้ราคาปรับตัวลงต่อนั่นเอง

กราฟ NUPL
กราฟ NUPL

สรุป

ทาง glassnode ได้พูดถึงสองหัวข้อหลักๆนั่นก็คือ การขายทำกำไรและขาดทุนของนักลงทุน และภาพรวมของตลาด derivatives โดยที่มีหลาย metrics ที่ค่อนข้างน่าจับต่อมองเนื่องจากอาจจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของทิศทางของราคาก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 50

สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

More
articles