ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 51
ในสัปดาห์ที่ 51 ราคาของ Bitcoin ปรับตัวลดลงกว่า $4,515 และวิ่งอยู่ในกรอบ $50,186 – $45,671 ปิดใน timeframe week ที่ -6.1% หนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจจะส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงนั่นก็คือการประชุมของ FED ในช่วงสัปดาห์ก่อน

เหรียญที่ถูก spent เริ่มมีอายุที่น้อยลง
เมื่อเรามาดูใน SVAB แล้วเราจะเห็นว่าในช่วง bull run ปลายปี 2020 เหรียญที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปที่ถูก spent นับเป็น 7% ของ spending daily volume โดยที่เริ่มจะมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆเนื่องจากลดลงเหลือเพียง 5% ในช่วงเดือนกรกฏาคม 3.5% ใน ATH ที่ผ่านมาและปัจจุบันเหลือเพียงไม่ถึง 2% ซึ่งนี่จะแสดงให้เห็นถึงว่า younger coins นั่นเริ่มถูกนำมาใช้มากกว่านั่นเอง

ในกราฟ realized cap HODL waves เราจะเห็นว่าเหรียญที่มีอายุในช่วง 3m – 6m นั่นมีน้อยหลังจากช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไปโดยที่เหรียญ 1w – 3m และ 6m – 1y มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เราจึงสามารถตีความออกมาได้สองข้อนั่นก็คือ
- เหรียญในช่วงอายุ 3m – 6m ได้ก้าวข้ามผ่าน threshold ไปเป็น 6m – 1y แทน
- เหรียญในช่วงอายุ 3m – 6m ถูก spent จึงทำให้อายุของเหรียญนั่นถูก reset กลับไปนับ 1 ใหม่จึงทำให้จำนวนเหรียญในช่วง 1w – 3m เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ที่ผ่านมาจำนวน supply ของ LTH จะปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วง ATH เนื่องจาก LTH จะทยอยขายทำกำไรในช่วงนั้น โดยที่เฉลี่ยแล้วจำนวน supply ที่ LTH ถือจะลดลงราวๆ 2% ในช่วงเข้าใกล้ ATH แต่ในรอบล่าสุกกลับลดลงเพียง 0.6% ซึ่งหมายความว่า LTH ยังเลือกที่จะ HODL ต่อและยังไม่ขายในช่วงราคานี้

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา net realized profit/loss แทบจะไม่ได้ปรับตัวขึ้นหรือลงอย่างชัดเจน สาเหตุอาจจะเพราะก่อนหน้านี้ตลาดปรับตัวลงอย่างรุนแรงทำให้มี realized loss ราวๆ 50m – 100m นักลงทุนจึงมีความระมัดระวังมากขึ้นนั่นเอง

สำหรับ profit and loss ratio ของ STH จะเห็นว่าปัจจุบันหลังจากที่ราคาค่อยๆปรับตัวลงจึงทำให้ STH เริ่มที่จะขาดทุนกันแล้ว

ในกราฟ On-chain cost basis เส้นสีชมพูจะแสดงถึง STH realised price และเส้นสีน้ำเงินจะแสดงถึง LTH realised price
สำหรับเส้นสีชมพูหรือ STH realised price
- การที่เส้นปรับตัวขึ้นจะหมายถึงการที่เหรียญที่ถูก spent นั้นถูกซื้อมาในราคาที่ต่ำกว่าจึงทำให้หลังจากการขายแล้วเหรียญนั้นมี cost basis ที่สูงขึ้น
- การที่เส้นปรับตัวลงจะหมายถึงการที่เหรียญที่ถูก spent นั้นถูกซื้อมาในราคาที่สูงกว่าจึงทำให้หลังจากการขายแล้วเหรียญนั้นมี cost basis ที่น้อยลง
สำหรับเส้นสีฟ้าหรือ LTH realised price
- LTH realized price จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อราคาของเหรียญนั่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- ส่วนใหญ่แล้ว LTH realized price จะไม่ค่อยปรับตัวลงนอกจากจะเป็น bear market ระยะยาว เพราะส่วนใหญ่จะเป็นไปในแนว side way มากกว่า
ในช่วงตุลาคมและพฤศจิกายนจะเห็นว่า STH realized price ได้ปรับตัวขึ้นเนื่องจากในช่วงนั้นราคาของ BTC กำลังทำ ATH จึงทำให้เหรียญที่ถูก spent นั้นมี cost basis ที่สูงขึ้น

หลังจากที่ราคาปรับตัวลงจาก ATH ทำให้จำนวนของ entities ที่มีกำไรนั่นปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับในช่วงเดือนกรกฏาคมที่ราวๆ 76% ทาง glassnode จึงตีความได้คร่าวๆว่า เหรียญส่วนใหญ่ที่ถูก spent ไปในก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น STH เนื่องจากยังมีนักลงทุนจำนวนเท่าๆเดิมที่ยังคงกำไรอยู่นั่นเอง

เมื่อเราสังเกตุใน price distribution เราจะเห็นว่าปัจจุบันมีมากกว่า 24.6% ของ BTC ที่มีมูลค่ามากกว่าราคาปัจจุบัน (สีม่วง)

ในกราฟ illiquid supply vs issuance จะเป็นกราฟที่เปรียบเทียบจำนวน BTC ที่ HODLers ที่ถือกับจำนวนเหรียญที่พึ่งถูกขุด ซึ่งในปัจจุบัน จำนวนเหรียญที่ HODLers ถือนับว่าเป็น 3.4 เท่าของเหรียญที่พึ่งถูกขุดเลยทีเดียว

ในปัจจุบันมีการโอนออกของ BTC จาก exchanges ต่างๆกว่า -$150M ถึง -$175M ในค่าเฉลี่ย 14 วัน

ในช่วงที่ผ่านมา miners เริ่มมี behavior ที่เปลี่ยนไปหลังจากเมื่อก่อนนักขุดเลือกที่จะขาย BTC หลังจากขุดได้ แต่ปัจจุบันกลับกันทางนักขุดเองเลือกที่จะ HODL มากกว่าถึงแม้จะมีการขายอยู่บ้างในช่วงเข้าใกล้ ATH

ปัจจุบันี้มีกว่า 18.9M BTC ที่ถูกขุดออกมาแล้วหรือคิดมาเป็น 90% ของ supply ทั้งหมด โดยที่ทาง glassnode ได้วิเคราะห์ว่าเราอาจจะเหลือเวลาอีกประมาณราวๆ 119 ปี สำหรับการขุดอีก 10% ของ supply ที่เหลือ

สรุป
ทาง glassnode ได้พูดถึงการที่เหรียญส่วนใหญ่ที่ถูก spent นั้นเป็นเหรียญจาก STH ซะมากกว่า LTH โดยการนำ metrics ต่างๆมาเพื่อสนับสนุนอย่างเช่น realized cap HODL waves และ LTH supply นอกจากนี้ทาง glassnode ยังได้คำนวณระยะเวลาคร่าวๆสำหรับการขุด Bitcoin ที่เหลือ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 51
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่