ภาพรวมตลาด Bitcoin สัปดาห์ที่ 3, 2022

ภาพรวมตลาดบิทคอยน์

Date

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email
Spread the love


ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 3, 2022

เป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่ผันผวนสำหรับนักลงทุนหลังจากราคาเปิดที่ $41,718 ก่อนที่จะปรับตัวลงไปทำ low ของสัปดาห์ที่ $39,821 และกลับมายืนเหนือช่วงราคามีผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุนที่โซน $40k ได้ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นไปทำ high ของสัปดาห์ที่ $44,252

กราฟราคา Bitcoin
กราฟราคา Bitcoin

สัดส่วนกำไรของ HODLers

ปัจจุบันราคาของ BTC ปรับตัวลงมาจาก ATH กว่า 35% ส่งผลให้ราวๆ 5.7 million BTC หรือ ~30% ของ circulating supply นั่นขาดทุนอยู่

ถ้าหากเรามาสังเกตุในกราฟ percent supply in profit เราจะเห็นว่าสามครั้งที่ผ่านมาที่จำนวน supply ที่กำไรลดลงเหลือเพียง 70% นั้นคือช่วง

  • พฤษภาคม – กรกฎาคม 2020 จากสถานการ์ณโควิด
  • พฤษภาคม – กรกฎาคม 2021 จากการ deleveraging ครั้งใหญ่
กราฟ percent supply in profit
กราฟ percent supply in profit

ในกราฟ percent of transfer volume in profit สามารถบอกอะไรเราได้หลายอย่าง

ถ้าหาก transfer volume in profit มีค่ามากกว่า 65% จะสามารถบ่งบอกได้ว่ามีเหรียญจำนวนมากที่ถูกขายทำกำไร ซึ่งส่วนมากเหตุการ์ณเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาของ BTC ปรับตัวขึ้นนั่นเอง

ส่วนถ้าหาก transfer volume in profit มีค่าน้อยกว่า 40% จะแสดงถึงว่าเหรียญส่วนมากนั่นถูกซื้อหรือมีต้นทุนที่สูงกว่าในช่วงราคาปัจจุบันซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาปรับตัวลงนั่นเอง

กราฟ percent of transfer volume in profit
กราฟ percent of transfer volume in profit

ปัจจุบันมีจำนวน realized profit น้อยกว่า $1B ต่อวันโดยที่สามารถตีความได้ว่านักลงทุนยังไม่มีความตั้งใจที่จะขายเหรียญในช่วงราคานี้

กราฟ realized profit
กราฟ realized profit

ปัจจุบัน realized loss อยู่ที่เฉลี่ยราวๆ $750m ต่อวัน ถ้าหากเรามองในภาพรวมที่ใหญ่ขึ้นเราจะเห็นว่า deleverage events ที่ผ่านมามีจำนวน realized loss ที่น้อยลง หรือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา realized loss ก็มีจำนวนที่น้อยลงเช่นกัน เราจึงสามารถตีความได้ว่าแรงขายเริ่มที่จะมีกำลังน้อยลงซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นได้นั่นเอง

กราฟ realized loss
กราฟ realized loss

MRG หรือ market realised gradient จะเป็นการนำ market cap มาเปรียบเทียบกับ realised cap

  • ถ้าหากค่า delta gradient เป็นบวก: จะหมายถึงในช่วงตลาดขาขึ้นและแนวโน้มของตลาด spot ที่เติบโตขึ้น
  • delta gradient เป็นลบ: จะหมายถึงช่วงที่ราคายังคงปรับตัวลงหรือในช่วงตลาดหมี
  • delta gradient มีค่าที่ใหญ่มากๆ: จะแสดงถึงการ overbought หรือ oversold ของ BTC นั่นเอง

ซึ่งในปัจจุบันถ้าหาก delta gradient สามารถผ่านค่า threshold ที่ 0.0 (เส้นสีแดง) ไปได้อาจจะหมายถึงการเกิด reversal ของราคาทำให้ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นได้นั่นเอง

กราฟ 28 days market realised gradient
กราฟ 28 days market realised gradient

จิตวิทยาของนักลงทุน

ถ้าหากค่าในกราฟ STH PnL vs LTH PnL นั่นเป็นบวก (โซนสีเขียว) จะหมายถึงช่วงที่ realized cap ของ LTH นั่นมีมากกว่าของ STH ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงตลาดหมีเนื่องจากจะเกิดการสะสมเหรียญ ถือเหรียญและการที่ STH มี activity ที่น้อยลงจึงทำให้ STH กลายเป็น LTH มากขึ้น

ส่วนเมื่อค่าเป็นลบนั่นจะหมายถึงช่วงที่ realized cap ของ STH นั่นมากกว่าซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงตลาดขาขึ้นเนื่องจากมีการ distribution ของเหรียญมากขึ้นนั่นเอง

กราฟ STH PnL vs LTH PnL
กราฟ STH PnL vs LTH PnL

ปัจจุบัน supply ทั้งหมดที่ถูกถือโดย STH มีอยู่ราวๆ 3m BTC ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่ค่อนข้างน้อยและแสดงให้เห็นถึงการที่ HODLers dominates ตลาดอยู่ นอกจากนี้การที่ STH มีจำนวนที่น้อยลงส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงตลาดขาลงเนื่องจาก old coins ยังถูก hodl อยู่นั่นเอง

กราฟ total supply held by STH
กราฟ total supply held by STH

ในกราฟ realized cap hodl waves ข้างล่างนี้จะแสดงถึงเหรียญในช่วงที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือนลงไปนั่นเอง ในปัจจุบันราวๆ 40% ของ realized cap นั่นมีอายุเหรียญน้อยกว่า 3 เดือนลงไป ซึ่งเหรียญส่วนเหล่านี้ถูกซื้อในช่วง ATH และ correction ที่ผ่านมา

ทาง glassnode ได้ตีความว่าจะมีจำนวนเหรียญที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน เพิ่มขึ้นเนื่องจากหรียญในช่วง 1 – 3 เดือนมีจำนวนที่คงที่และเหรียญที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือนมีจำนวนที่ลดลงนั่นเอง

กราฟ realized cap HODL waves
กราฟ realized cap HODL waves

ตลาด Derivatives

ในปัจจุบันค่า open interest rate อยู่ที่ราวๆ 240k BTC โดยที่เมื่อเราสังเกตุในช่วงที่ผ่านมาหากค่า open interest มีค่าที่สูงกว่า 240k BTC อาจจะส่งผลถึงความผันผวนในราคาในช่วงต่อมาก็ได้

กราฟ futures open interest perpetual
กราฟ futures open interest perpetual

ค่า funding rates กลับมาติดลบอีกครั้งหลังจากราคาปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมานี้มีนักลงทุนที่เปิดสัญญา short มากกว่า long นั่นเอง

กราฟ futures perpetual funding rates
กราฟ futures perpetual funding rates

volume ของตลาด futures ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ $30B ต่อวัน เท่ากับในช่วงเดือนธันวาคม 2020

กราฟ futures volume perpetual
กราฟ futures volume perpetual

หลังจากในเดือนพฤษภาคมูลค่าของ OI ของ crypto margined ก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนที่สนใจใน cash margined มากกว่านั่นเอง

กราฟ percent futures open interest crypto margined
กราฟ percent futures open interest crypto margined

สรุป

ทาง glassnode ได้กล่าวถึง supply dynamics และ behavior ของนักลงทุนทั้งใน STH และ LTH นอกจากนี้ยังกล่าวถึงจำนวนของ supply ที่ยังคงกำไรหลังจากราคาของ BTC ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องและปิดท้ายด้วยการพูดถึงการที่สัญญาณต่างๆในตลาด derivatives อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 3, 2022

สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

More
articles