ภาพรวมตลาด Bitcoin สัปดาห์ที่ 6, 2022

Date

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email
Spread the love

ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 6, 2022

ในสัปดาห์ที่ 6 ราคาของ Bitcoin ปรับตัวขึ้นจาก low ที่ $36,531 และมาทำ high ของสัปดาห์ที่ $42,053 โดยการปรับตัวขึ้นของราคาในครั้งน้ีทาง glassnode ได้ตั้งคำถามว่ามันคือจุดต่ำสุดแล้ว หรือจริงๆแล้วในภาพรวมยังถือว่าเป็นตลาดหมีอยู่

กราฟราคา Bitcoin
กราฟราคา Bitcoin

แนวรับพื้นฐาน

ราคาระหว่าง $30k – $40k ถือว่าเป็นหนึ่งโซนแนวรับที่สำคัญหลังจากเราจะเห็นที่ราคาของ BTC ปรับตัวลงมาทดสอบในช่วงพฤษภาคมและกันยายน 2021 และช่วงมกราคม 2022

ในกราฟ URPD เราจะเห็นว่ามีกว่า 2.351M BTC (12.41% ของ supply) ที่พึ่งถูกซื้อขายไปในช่วงราคา $36.2k – $41.2k

และปัจจุบันมีมากกว่า 4.7M BTC (25.2% ของ supply) ที่ถูกซื้อแพงกว่าราคาตลาด ณ วันที่เขียนนั้นเอง

กราฟ URPD
กราฟ URPD

หลังจากที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงทำให้มีผู้ที่เปิดสัญญา short ถูก liquidated มากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ค่าในกราฟ long liquidations กลับมาในฝั่ง short liquidation dominance อีกครั้ง

กราฟ futures long liquidations dominance
กราฟ futures long liquidations dominance

เราจะยังไม่เห็นการ deleverage event หรือการที่ large volume contract นั่นถูก liquidated ถ้าหากเราสังเกตุในกราฟ futures open interest รายวัน

ปัจจุบันค่า futures open interest นั่นคิดเป็น 1.91% ของ Bitcoin Market cap หรือราวๆ $15B

กราฟ futures open interest
กราฟ futures open interest

เราจะเห็นว่าช่วงต้น 2021 มีจำนวน new entities มากกว่า 20k ต่อวัน และหลังจากการเกิด sell off ในเดือนพฤษภาคมจึงทำให้จำนวนของ entities ลดลงอยู่ที่เฉลี่ย 12.5k ต่อวัน ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นมาอีกครั้งในช่วงต้นปี 2022

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน new entities ได้ปรับตัวขึ้นมาอีกครั้งที่เฉลี่ย 18.5k ต่อวัน

กราฟ entities net growth

Momentum ปรับตัวขึ้นในระยะสั้น

ในกราฟ STH SOPR เราจะเห็นว่าค่า SOPR ได้ปรับตัวผ่าน baseline ที่ ‘1’ มาได้ก่อนที่จะปรับตัวลงมาทดสอบแนวรับอีกครั้ง ซึ่งถ้าหากค่า SOPR สามารถดีดตัวกลับและยืนเหนือ ‘1’ ได้เหมือนในสองครั้งก่อนหน้านี้ก็จะถือว่าราคาจะกลับมาปรับตัวขึ้นอีกครั้ง

แต่ถ้าหากค่า SOPR ไม่สามารถยืนเหนือ ‘1’ ได้ก็จะหมายความว่าตลาดไม่มี demand มากพอที่จะรองรับแรงขายในระยะสั้นได้ จึงเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่ายังคงเป็นตลาดหมีอยู่นั่นเอง

กราฟ STH SOPR
กราฟ STH SOPR

การที่ค่า delta gradient นั่นมีค่ามากกว่า 0 (เส้นสีแดง) จะหมายความว่า new uptrend นั่นกำลังจะมา

เมื่อเราสังเกตุในเดือนพฤษภาคม 2021 ค่า delta gradient ได้ปรับตัวลงในขณะที่ราคาปรับตัวขึ้นจึงเป็นสัญญานของ bearish divergence และหลังจากนั้นราคาก็เกิดการเทขาย

ส่วนในปัจจุบันทาง glassnode ได้ออกมาบอกว่ามันเกิด bullish divergence เนื่องจากราคาปรับตัวลงแต่ค่า delta gradient กลับทยอยปรับตัวขึ้น ซึ่งสามารถตีความได้ว่าอาจจะเกิดการปรับตัวขึ้นของราคาในช่วงหลังจากนี้

กราฟ 14 day market realised gradient
กราฟ 14 day market realised gradient

หลังจากก่อนหน้านี้ที่ราคาปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้ monthly return ได้ติดลบกว่า 30% โดยมีเพียง 4 ครั้งก่อนหน้านี้เท่านั้นที่ผลตอบแทนต่อเดือน -30 ถึง -50% นั่นก็คือช่วง

  1. correction ในเดือนมกรา-เมษา 2018 (ช่วงเริ่มต้นของ bear market)
  2. พฤศจิกายน 2018
  3. มีนาคม 2020 หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19
  4. การเทขายในเดือนพฤษภาคม 2021
กราฟ monthly returns
กราฟ monthly returns

การประเมิณ fair value ของ Bitcoin

หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการคำนวณค่า fair value ของ BTC ก็คือการใช้ตัวชี้วัด mayer multiple ที่นำค่าเฉลี่ย 200 วันหรือ ma 200 มาคิด

โดยที่ปัจจุบันค่า mayer multiple (เส้นสีเขียว) อยู่ที่ราวๆ 0.8 หมายความว่า ราคาตอนนี้มีมูลค่าน้อยกว่าค่า ma 200 อยู่ 20% หรือที่ราคา $39.1k นั่นเอง

กราฟ mayer multiple
กราฟ mayer multiple

ในกราฟ realized price to liveliness ratio จะแสดงให้เห็นถึงโซนราคาที่สามารถนำมาคิดเป็นแนวรับได้เนื่องจาก มันคือ HODLer fair value (เส้นสีส้ม)

ก่อนหน้านี้ราคาได้ลงมาแตะแนวรับนี้ก่อนที่จะปรับตัวกลับขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันราคาก็ได้ปรับกลับมาเหนือค่า realized to liveliness ที่ราคา $39,958 อีกครั้งเหมือนกันกับใน Mayer multiple นั่นเอง

กราฟ mayer multiple
กราฟ mayer multiple

การ hack Bitfinex wallet ในปี 2016

ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการ detected ได้กว่ามีกว่า 94,630 BTC มูลค่ากว่า $3.67B ที่ถูก revived มาจาก wallet ที่ Bitfinex hack ในปี 2016

กราฟ revived supply last active 5+ years
กราฟ revived supply last active 5+ years

จำนวน coin days destroyed ก็มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยที่มี volume ทั้งหมดกว่า $195M โดยที่ $190M เป็นของ 2016 Bitfinex hack

กราฟ CDD
กราฟ CDD

liveliness ของ BTC นั่นปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการที่ราคาของ BTC ปรับตัวลงและนักลงทุนทำการซื้อขายกันน้อยลง แต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเหตุจากการ Bitfinex hack เช่นกัน

กราฟ liveliness
กราฟ liveliness

Average Spent Output Lifespan จะคำนวณค่าเฉลี่ยอายุของเหรียญที่ถูก spent ต่อ UTXO basis โดยที่ไม่ได้นำ volume มาคิดด้วย

การที่กราฟ ASOL อยู่ใน uptrend จะหมายถึงการ distribution ของ old coins ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นใน bull markets กลับกันถ้าหากกราฟอยู่ใน downtrend ก็จะหมายถึงการที่นักลงทุนเลือกที่จะ HODL กันมากกว่า

ในปัจจุบันกราฟ ASOL ได้ปรับตัวลงมาถึงแนวรับสำคัญ ซึ่งถ้าสามารถดีดตัวจากแนวรับนี้ได้ ก็มีสิทธิที่กราฟจะกลับตัวขึ้นและผลักดันราคาขึ้นไปได้เช่นกัน

กราฟ entity adjusted ASOL
กราฟ entity adjusted ASOL

สรุป

ทาง glassnode ได้พูดถึง metric ต่างๆที่มีแนวโน้มคาดการ์ณว่าราคาจะปรับตัวขึ้นในเร็วๆนี้ เนื่องจากในหลายตัวชี้วัดได้อยู่ในช่วงจุดสำคัญแล้ว นอกจากนี้ทาง glassnode ก็ได้พูดถึง BTC จาก Bitfinex wallet ที่ถูก hack ไปในปี 2016 ได้กลับมามีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 6, 2022

สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on telegram
Share on skype
Share on whatsapp
Share on email

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

More
articles