ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 11, 2022
ราคาของ Bitcoin ในสัปดาห์ที่ 11 วิ่งอยู่ในกรอบ low ที่ $37,274 ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นไปทำ high ที่ $42,455 และปรับตัวลงมา sideway อยู่ในช่วงราคา $38k

ความไม่แน่นอนทำให้ Short term accumulation มีแรงน้อยลง
ในตัวชี้วัด accumulation trend score ของ BTC จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการ accumulation และ distribution ของเหรียญระหว่าง wallets ตัวชี้วัดนี้จะเป็นการ track เมื่อวาฬเพิ่มการถือเหรียญของพวกเขา โดยที่จะไม่นับเหรียญจากการขุดหรือใน exchnages นั่นเอง
สีของกราฟจะแสดงออกเป็นสองช่วง
- เมื่อค่าเข้าใกล้ 0 (สีเหลือง) จะแสดงให้เห็นถึงช่วงที่กำลังเกิดการ ditribution หรือในช่วง (bearish)
- เมื่อค่าเข้าใกล้ 1 (สีม่วง) จะแสดงถึงช่วง accumulation ที่นักลงทุนทยอยเริ่มเก็บเหรียญกันมากขึ้น (bullish)
เราจะเห็นว่าในช่วง ตุลาคม 2021 – มกราคม 2022 เป็นช่วงที่เกิดการ accumulation ที่แข็งแรงมากที่ เนื่องจากค่า acc. trens score นั่นอยู่ 0.9 แสดงให้เห็นถึงช่วงราคาที่ไม่มีผลกระทบต่อ HODlers แต่ส่วนมากในปี 2022 สถานการณ์กับเป็นตรงกันข้ามเนื่องจากจากที่ค่า acc. trend score นั่นอยู่ที่ 0.2 – 0.5 ผลกระทบจากความเชื่อมั่นในการลงทุนและสถานการณ์ต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเอง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการขาย older coins เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เหรียญที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นนั้นคิดเป็นสัดส่วน 5% ของปริมาณการขาย ซึ่งถือว่าเป็น uptick ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้

เมื่อเราสังเกตในกราฟ Binary CDD ที่จะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อมี old coins นั่นเริ่มถูกนำมาใช้
- โซนสีเขียว: จะเป็นช่วง accumulation phase ใน bear market
- โซนสีแดง: จะเป็นช่วงที่ distribution ใน bull market
ตั้งแต่ช่วงกันยายน 2021 ค่า binary CDD กลับอยู่สูงกว่าเฉลี่ยของช่วง bear market acc. ทาง glassnode จึงตีความไว้ว่าเป็นการที่ long term investor บางส่วนเริ่มที่จะตัดสินใจ de-risking หรือเริ่มขายเอากำไรกันบางส่วนนั่นเอง

เมื่อเราดูในภาพรวมเราจะเห็นว่าค่า CDD หรือ coin days destroyed ในช่วง 90 วันที่ผ่านมายังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมา
ในช่วงตลาดขาลง CDD-90 นั่นจะมีค่าที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากส่วนมากนักลงทุนอยู่ช่วง accumulation เหมือนในช่วงปัจจุบันนั่นเอง ส่วนในช่วงที่ค่า CDD-90 ปรับตัวสูงขึ้นนั่นจะเป็นช่วง market tops หรือ ช่วง capitulation

Short term supply ที่น้อยลง
ในภาพใหญ่เราจะเห็นว่าจำนวนของ STH supply นั่นอยู่ในเทรนขาลง แสดงให้เห็นถึงการที่นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มที่จะ hodl ตัว BTC กันมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้จำนวนของ STH supply ปรับตัวลงใกล้เคียงกับ ATL หรือ all time low และ 82% หรือราวๆ 2.51M BTC ของเหรียญที่ถูกถือโดย STH นั่นกำลังขาดทุนอยู่

ในกราฟ hodl waves ก็ได้แสดงให้เห็นว่าเหรียญที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนนั้นกำลังเข้าใกล้ ATL คิดเป็น 24.53% ของ circulating supply ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าอีก 75.47% ที่เหลือนั้นเป็นเหรียญที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนนั่นเอง

ปัจจุบันเหรียญที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนคิดเป็น 47.4% ของ network usd realised value นอกจากนี้เราจะเห็นว่าการที่เหรียญที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนมี realized value ที่น้อยลงในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงการที่เหรียญที่ถูกซื้อไปในช่วง กันยายน – ธันวาคม 2021 ยังคงถูก hodl โดยเจ้าของเหรียญเหล่านั้นอยู่นั่นเอง

สัญญาณของความต้องการในระยะยาว
เมื่อเราได้สังเกตุใน sell side supply ไปแล้ว ทาง glassnode เลยนำเรื่องที่เกี่ยวกับ long term demand มานำเสนอต่อ
เราจะเห็นว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนของ BTC มีการโอนออกจาก Coinbase กว่า 31,130 BTC หรือคิดเป็น $1.18B และถือว่าเป็นการโอน BTC ออกจาก Coinbase มากที่สุดนับตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2017

การโอนออกของ BTC ในครั้งนี้ทำให้ balance ของ BTC บน Coinbase นั่นอยู่ที่ราวๆ 649.5k BTC เท่ากับช่วง market top ในปี 2017
นอกจากนี้ ตั้งแต่เมษายน 2020 มีการโอนออกของ BTC จาก Coinbase กว่า 375.5k BTC หรือคิดเป็น -36.6% จาก ATH balance ที่ 1,025k BTC

เราจะเห็น uptick ในกราฟ illiquid supply shock ratio หรือ ISSR หมายถึงการที่เหรียญที่ถูกโอนออกไปนั่น ถูกโอนไปที่ wallet ที่แทบจะไม่มีหรือไม่มีประวัติการ spending มาก่อนเลย
เราจะเห็น trend ที่คล้ายกันในช่วง 2018 – 2020 แต่เพียงในส่วนของปัจจุบันนั่นจะเกิดขึ้นเร็วกว่านั่นเอง ปัจจุบันค่า ISSR อยู่ที่ 3.2x แสดงถึงการที่จำนวนของ supply ที่ถูกเก็บบน illiquid wallets นั้นมีมากกว่า highly liquid และ liquid wallet 3.2 เท่าเลยดีเดียว

ในตัวชี้วัดสุดท้ายนี้ จะเป็นการวัด Market inflation rate โดยการคำนวณจาก annualised accumulation หรือ distribution rates จาก LTHs โดยที่ เส้นสีเหลืองจะแสดงถึง nominal inflation rate คำนวณจากจำนวณ BTC ที่นักขุดขุดได้กับจำนวณ circulating supply
หลังจากนั้นเราจะนำการเปลี่ยนแปลงของ supply ที่ถือโดย LTH มาคิดกับ circulating supply และนำค่าที่ได้มาคูณ -1 ซึ่งค่า LTH accumulation จะได้ผลลัพท์เป็นลบ (bullish) ในระหว่างที่ LTH divestment จะได้ผลลัพท์เป็นบวก (bearish) และหลังจากที่เราได้ค่า LTH accumulation rate แล้ว เราก็จะนำไปบวกกับค่า nominal market inflation rate เพื่อคำนวณออกมาเป็น LTH market inflation rate (เส้นสีเขียว)
- ในช่วงที่ late bear market: ค่า market inflation rate จะติดลบค่อนข้างเยอะ แตะช่วง -14% ถึง -15% หมายความว่า LTHs นั้นกำลังสะสม BTC ราวๆ 15% ของ circulating supply ต่อปีมากกว่าจำนวนที่นักขุดขุดได้
- ในช่วง market top: ค่า market inflation (เส้นสีเขียว) จะอยู่เหนือ nominal inflation (เส้นสีเหลือง) แสดงให้เห็นถึงการที่ LTHs นั่นเพิ่มแรงขายโดยการเริ่มขาย BTC นั่นเอง ซึ่งจะส่งผลไปสู่การ oversupply และทำให้เข้าสู่ช่วงตลาดขาลงได้นั่นเอง
ปัจจุบัน LTH market inflation rate อยู่ที่ -10.9% หมายถึงการที่ LTHs สะสม BTC เป็น 7.6x จากจำนวณเหรียญที่ขุดได้

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้พูดถึงเรื่องของการที่มีการ spend ของเหรียญที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัดแสดงให้เห็นถึงการที่นัดลงทุนตัดสินใจที่จะ HODL กันมากกว่า นอกจากนี้ทาง glassnode เองก็ได้แนะนำตัวชี้วัดใหม่อย่าง Long term holder market rate อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 11, 2022
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่