ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 12, 2022
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ไม่ค่อยมีความผันผวนมากนัก ปรับตัวขึ้นจาก $37,680 แตะ $42,312 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

แรงซื้อจากตะวันตกและแรงขายจากเอเชีย
glassnode ได้นำ metrics ใหม่มานำเสนอในสัปดาห์นี้ โดยที่ metrics ทั้งสามตัวนี้นั้นจะเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาใน 30 วันของ US, EU, และ Asia โดยจะสามารถระบุได้ว่าปัจจุบันแรงขาย – ซื้อส่วนมากนั้นมาจากโซนไหน
โดยที่ในช่วงปี 2020 – 2022 ตลาดในฝั่งของ US และ EU มีเหตุการณ์ใกล้เคียงกันในหลายจุดอย่างเช่น
- การ accumulation หลังจากการเทขายในช่วงเดือนมีนาคม 2020
- แรงซื้อมหาศาลในช่วง bull market ของปลายปี 2020 และต้นปี 2021
- เกิดการ capitulation ในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2021
- แรงซื้อในช่วงที่ผ่านมาของทั้งสองฝั่ง ถึงปัจจุบันทางฝั่งของ EU เองจะมีแรงซื้อที่มากกว่าก็ตาม

แต่กลับกันสถานการณ์ในฝั่งเอเชียกลับไม่เหมือนในฝั่งตะวันตก โดยที่กราฟข้างล่างนี้จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างฝั่งเอเชีย (สีแดง) กับฝั่ง EU (เส้นสีม่วง) และ US (เส้นสีฟ้า)
- ในช่วงมีนาคม 2020 ที่ทางฝั่ง EU และ US เกิดการ accumulation แต่ในฝั่งเอเชียเองกลับเกิด sell side pressure
- ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2021 เราจะเห็นว่าแรงซื้อจากฝั่งเอเชียส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงที่ราคาปรับตัวลงใน bull market
- มีแรงซื้อมากมายในช่วงที่ราคาของ BTC ปรับตัวขึ้นทำ ATH ในเดือนพฤศจิกายน 2021
- หลังจากที่ราคาปรับตัวลงจึงทำให้เราเห็นถึงแรงเทขายจากฝั่งเอเชีย ซึ่งถือว่า dominances sell side pressure เลยก็ว่าได้ เนื่องจากถ้าเราเปรียบเทียบกับทางฝั่งของ EU และ US แล้ว แรงเทขายจากเอเชียนั้นมีเยอะกว่ามาก

การฟื้นตัวของสถานการณ์ on-chain
เราจะเห็นว่าในจำนวนของ new entities จะมี pattern ที่คล้ายคลึงกัน นั่นก็คือจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง bullish และจะ crash ทันทีหลังจากที่ราคาปรับตัวลงอย่างรวดเร็วก่อนที่จะค่อยๆฟื้นตัวอีกครั้ง
ซึ่งในปัจจุบันจำนวนของ new entities ได้อยู่ในช่วงฟื้นตัวหลังจากที่ราคาปรับตัวลงมา โดยที่ปัจจุบันจำนวนของ new entities อยู่ที่ราวๆ 110k ต่อวัน

เราจะเห็นเทรนที่คล้ายกันในจำนวนของธุรกรรม ซึ่งในปัจจุบันจำนวนของธุรกรรมต่อวันนั้นอยู่ที่ 215k ต่อวัน
การที่จำนวนของ active addresses หรือ จำนวนของธุรกรรมนั่นเพิ่มขึ้นสามารถบ่งบอกได้ถึงสัญญาณของการฟื้นตัวของราคา ซึ่งถ้าหาก acitivities on-chain นั่นมีจำนวนที่น้อยลงจะบ่งบอกถึงการที่มีแรงซื้อที่น้อยลงเช่นกัน

ในช่วงตลาดขาลงในปี 2021 – 22 ธุรรกรรมขนาดใหญ่คิดเป็น 65% – 70% ของจำนวนธุรกรรมทั้งหมด เราจะเห็นว่า volume ของธุรกรรมในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวยก low ขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่ปัจจุบัน volume ของธุรกรรมนั้นอยู่ที่ low ซึ่งอาจจะหมายถึงการลดลงของ network utilisation ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นถึงการที่ตลาดนั้น favour ไปในทางของ bearish มากกว่า

Threshold ที่จำแนกว่าเป็น LTH หรือ STH นั้นอยู่ที่ 155 วัน และปัจจุบันราคาปรับตัวลงจาก ATH มานากว่า 132 วัน เราจึงสามารถตีความคร่าวๆได้ว่า LTH นั่นคือผู้ที่ซื้อเหรียญก่อนที่ราคาจะทำ ATH ส่วน STH คือผู้ที่ซื้อเหรียญในช่วง market top หรือหลังจากนั้น
เราจะเห็นว่าจำนวนของ LTH นั่นค่อนข้างอยู่ในทิศทาง sideways แสดงถึงการที่มีจำนวนเหรียญที่ถูกขายไปและจำนวนเหรียญที่มีอายุก้าวข้าม threshold ที่ 155 วันมีจำนวนเท่าๆกัน

ปัจจุบันเหรียญที่มีช่วงอายุ 3 – 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นมากว่า 480k BTC แสดงให้เห็นเหรียญที่ถูกซื้อมาในช่วงปลายปี 2021 จนถึงต้นปี 2022 นั้นมีแนวโน้มที่นักลงทุนจะถือเหรียญมากกว่าขายนั่นเอง นอกจากนี้ในกราฟนี้ยังสามารถบ่งบอกถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ของการที่ STH จะถือเหรียญนานพอที่จะกลายเป็น LTH อีกด้วย

ตลาด derivatives
การที่ futures term structure ของ BTC นั่น sideway หรือ flattened ตลอดช่วงเมษายนนี้และคาดว่าภายในสิ้นปีราคาของ BTC จะปรับตัวขึ้นเพียง 4.46% อยู่ที่เพียง $42,635 เราจึงคาดการณ์ได้คร่าวๆว่าจะยังไม่มีการปรับตัวขึ้นของราคาอย่างรุนแรงในเร็วๆนี้

กราฟ Options ATM Implied Volatility จะเป็นการคาดการณ์ความผันผวนของราคา โดยที่ในช่วงมกราคมและกุมภาพันธ์นั้นมีการคาดการณ์ว่าจะมีค่าความผันผวนที่ค่อนข้าง 55 – 75% ส่วนในปัจจุบันถึงแม้ราคาจะอยู่ในช่วง sideway แต่ค่าคาดการณ์ความผันผวนของราคาได้ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ในช่วง 60 – 80%

ในปี 2021 ที่ผ่านมาเมื่อค่า OI หรือ open interest นั้นมากกว่า 2% ของ market cap จะแสดงให้เห็นถึงช่วงที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการเทขายหรือปรับตัวลงของราคาในช่วงต่อมา
ถ้าเรามาสังเกตุในกราฟข้างล่างนี้ เราจะเห็นว่าปัจจุบันค่า open interest หรือ OI ของ BTC เมื่อเทียบกับ market cap จะอยู่ที่ราวๆ 1.94% ของ market cap

หลังจากที่ราคาของ BTC ปรับตัวลง ความต้องการในตลาด futures ก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน
โดยที่ annualized rolling basis จะแสดงถึง % return ที่นักลงทุนจะได้รับถ้าหากนักลงทุนได้ทำการ Spot-Future Arbitrage นั่นเอง โดยที่ปัจจุบันนักลงทุนจะได้ annualised returm อยู่ที่ 3.5% เหมือนกันหับในช่วงกันยายน 2020 ก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นนั่นเอง

ปัจจุบันค่า OI leverage ratio ของสัญญาที่ไม่มีหมดอายุนั่นได้ปรับตัวขึ้นคิดเป็น 1.28% ของ market cap อยู่ในโซน high risk แล้ว
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าตลาดให้ความสนใจกับสัญญาแบบไม่มีหมดอายุ (Perpetual) มากกว่าสัญญาที่มีวันหมดอายุอีกด้วย

ถ้าหากเราคำนวณ annualised rolling basis ของสัญญาแบบไม่มีวันหมดอายุ (เส้นสีชมพู) มาเปรียบเทียบกับของสัญญาที่มีอายุ 3 เดือน (เส้นสีน้ำเงิน) เราจะสามารถตีความได้ว่า
- สัญญา futures ที่ไม่มีหมดอายุนั่นมีความผันผวนมากกว่า
- ช่วงที่ค่าของสัญญาที่ไม่มีหมดอายุ (เส้นสีแดง) นั่นมากกว่าสัญญาที่อายุ 3 เดือน (เส้นสีน้ำเงิน) แสดงให้เห็นถึงช่วงที่ราคาปรับตัวลงหรือในช่วง undervaluation นั่นเอง (โซนสีเขียว)
- กลับกันในช่วงที่เส้นสีแดงอยู่เหนือเส้นสีน้ำเงินก็จะแสดงให้เห็นถึงช่วง short term market top นั่นเอง

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้แสดงให้เห็นว่าแรงขายส่วนมากนั่นมาจากนักลงทุนในฝั่งเอเชีย และแรงซื้อส่วนมากนั้นมากจากนักลงทุนใน EU และ US นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการฟื้นตัวของ on-chain activities อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของ new entities ที่เพิ่มขึ้นหรือการที่จำนวนของธุรกรรมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 12, 2022
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่