ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 13, 2022
เป็นสัปดาห์ที่แข็งแรงของ Bitcoin หลังจากที่ราคาปรับตัวขึ้นจาก $40,710 แตะ local high ที่ $47,649 ถือว่าเป็นการปรับตัวขึ้นของราคาในรอบหลายเดือนที่ผ่านมาหลังจากที่ราคาทำ sideway มาเป็นเวลาหลายเดือน

new high ของ old supply
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2022 เราจะเห็นอัตราการเพิ่มขึ้นของ supply ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี อย่างชัดเจน โดยปรับตัวเพื่มขึ้นกว่า 9.4% ในช่วงเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา
เหรียญเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงเหรียญที่นักลงทุนได้ซื้อไปในช่วงไตรมาสที่ 1 ของ 2021 ซึ่งเหรียญเหล่าที่ได้ผ่าน ATH มาถึงสามครั้งและการปรับตัวลดลงของราคากว่า 50% ถึงสองครั้ง

ในกราฟ realized cap HODL waves ของเหรียญที่มีอายุมากกว่า 1 ปี เราจะเห็นได้ว่า
- ในช่วง Q2 – Q4 ของปี 2021 จะมีความคล้ายคลึงกับตลาดหมีในครั้งก่อนๆ โดยที่มูลค่าของเหรียญที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ได้ปรับตัวลดลงแตะ cycle minimum (ตั้งแต่ช่วงพฤษภาคม – ธันวาคม 2021)
- ตลาดหมี phase 1 (โซนสีแดง) จะเห็นได้ว่าเมื่อมูลค่าของเหรียญที่มีอายุมากกว่า 1 ปีลดลงแสดงให้เห็นถึงการที่มูลค่าของเหรียญส่วนใหญ่นั้นอยู่กับนักลงทุนหน้าใหม่ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า เหตุการณ์เหล่านี้จึงเกิดขึ้นในช่วง top ของ bear market นั่นเอง
- ตลาดหมี phase 2 (ลูกศรสีน้ำเงิน) จะเป็นช่วงที่มูลค่าของเหรียญที่มีอายุ 1 ปี กำลังฟื้นตัวและทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้น และเนื่องด้วยการที่ต้นทุนของเหรียญนั่นสูงกว่าจึงทำให้ floor value ของ cycle นี้จะสูงกว่าครั้งก่อนๆ
โดยที่ปัจจุบันทาง glassnode ได้ตีความไว้ว่าตอนนี้ราคาของ BTC นั้นอยู่ในช่วง phase 2 ซึ่งถ้าหากเราดูในครั้งก่อนๆเราจะเห็นว่าการที่จะสร้างฐานใหม่อาจจะใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่ราคาจะมี upside momentum อีกครั้ง

RHODL ratio จะเป็นการเทียบสัดส่วนระหว่าง Realized cap HODL waves ของเหรียญที่มีอายุ 1 สัปดาห์ต่อเหรียญที่มีอายุ 1 ปี โดยที่ตัวกราฟจะปรับตัวขึ้นต่อเมื่อ wealth ส่วนมากของเหรียญส่วนใหญ่อยู่ที่ new investors และปรับตัวลงต่อเมื่อ wealth ส่วนใหญ่อยู่ที่ผู้ถือเหรียญอายุ 1 ปี
เมื่อ supply last active 1+ year มีจำนวนเยอะขึ้น ทำให้ denominator ของ RHODL ratio มากขึ้นจึงทำให้ค่าของ RHODL ratio น้อยลง ถ้าหากพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือถ้าหากจำนวนเหรียญที่มีอายุมากกว่า 1 ปีมีจำนวนเพิ่มขึ้น ค่า RHODL ratio จะปรับตัวลดลงเข้าสู่ maximum old hands (โซนสีเขียว) และถ้าหากเหรียญอายุ 1 ปีมีจำนวนน้อยลง ค่า RHODL ratio ก็จะปรับตัวเพิ่มขี้นเข้าหาโซน maximum new hands (โซนสีแดง)

reserve risk เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่จะแสดงถึง behavior และ psychology ของนักลงทุน โดยที่ตัวชี้วัดนี้จะปรับตัวลงเมื่ออยู่ในช่วง accumulation และ HODLing และจะปรับตัวขึ้นต่อเมื่อนักลงทุนเริ่มทำการขายทำกำไร
ปัจจุบันค่า reserve risk ได้ปรับตัวลงมาอยู่ในโซน high HODL low spending มากว่า 77 วัน

เมื่อ short term support มาเจอกับ long term spending
ใน SVAB หรือ spent volume age bands แสดงให้เห็นถึงการ spending ของเหรียญที่มีอายุมากกว่า 6+ เดือน โดยสามารถคิดเป็น 2% ของธุรกรรมทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์

BTC ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีถูกขายราวๆกว่า 7k – 10k BTC ต่อวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา เราจึงสามารถตีความได้ว่านักลงทุนเริ่มรู้สึกกลัวความผันผวนจึงได้ทำการเทขายเพื่อลดความเสี่ยงและถึงแม้มีการเทขายจาก LTH แต่ราคากลับไปไม่ได้ปรับตัวลงแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อที่มีมากพอเช่นกัน

กลับมาย้อนดูใน realized cap HODL waves ของเหรียญที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือนแสดงให้ว่ากว่า 16.23% ของ realized value นั่นเป็นเหรียญเหล่านี้
ทาง glassnode ได้กล่าวว่าเราจะเห็น spending patterns ที่คล้ายๆกับในช่วง 2012, 2016, และ 2019-20 โดยเป็นช่วงที่เรียกว่า disbelief/exit liquidity หรือช่วงที่นักลงทุนหน้าใหม่ได้ออกจากตลาด ทำให้ราคาของ BTC ปรับตัวลงมาสะสมอยู่ในโซนราคาที่ถูกกว่านั่นเอง

กราฟ realized price distribution ของ UTXO ในปัจจุบันสามารถแบ่งวิเคราะห์เป็นสองฝั่งได้ดังนี้
- Long term holder: ปัจจุบัน supply ของ LTH ถูกซื้อในราคาที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะมากกว่า $45k โดยที่เหรียญเหล่านี้นั้นยังคงถูกถือแบบ unrealised loss อยู่
- Short term holder: เหรียญจากฝั่ง STH ส่วนมากถูกซื้อและสะสมมาในช่วงราคา $38k – $45k ซึ่งหมายถึงโซนราคาที่ฐานในปัจจุบันนั่นเอง

ความเจ็บปวดในระยะสั้นเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาว
ส่วนมากในช่วงท้ายของตลาดหมีเราจะเห็นการเทขายครั้งใหญ่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่นในเดือนมกราคม 2015, พฤศจิกายน 2018 และมีนาคม 2020 โดยที่ราคาปรับตัวลงกว่า 50% ในหนึ่งวัน
ใน 12 เดือนที่ผ่านมาถึงแม้เราจะการปรับตัวลดลงของราคาถึงสองครั้งแต่กลับมี magnitude และขนาดที่น้อยกว่าช่วง capitualtions ในปี 2018 – 2020 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อ BTC ที่มากขึ้นนั่นเอง

Concept ของ realized value จะแสดงถึง cost basis หรือต้นทุนของเหรียญที่ STH และ LTH โดยที่ต้นทุนเฉลี่ยของ STH (เส้นสีชมพู) นั้นจะมีความผันผวนมากกว่าและสามารถนำมาคิดเป็นแนวต้านได้ในตลาดหมี ปัจจุบันต้นทุนเฉลี่ยของ STH นั้นอยู่ที่ $45.9k และมี realized cap อยู่ที่ $871B
ส่วนในฝั่งของ LTH (เส้นสีฟ้า) มี realized cap อยู่ที่ $312B และ cost basis ที่ $16.5k การที่ต้นทุนของ LTH นั้นอยู่ใน downtrend สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ LTHs นั่นเข้าซื้อ BTC ใน market top และขายขาดทุนในช่วงถัดมา

ตัวชี้วัดสุดท้ายจะเป็นตัวชี้วัด LTH realized cap net position change Z score โดยที่ตัวชี้วัดนี้จะคำนวณค่าเปลี่ยนแปลง 30 วันใน LTH realized cap และนำมาคำนวณเป็น Z-score เพื่อมาเปรียบเทียบกับ cycle ก่อนหน้านี้
ซึ่งถ้าหากค่าที่คำนวณออกมาได้มีค่าที่สูงจะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของ LTH cost basis และถ้าหากค่าที่คำนวณออกมาได้ค่อนข้างต่ำหมายถึงการลดลงของ cost basis เช่นกัน
ในปัจจุบันนี้ค่า Z-score นั่นอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ 2.33σ ซึ่งหมายถึงการ redistribute ของเหรียญที่มี cost basis ที่สูงหรือการที่เหรียญที่ถูกซื้อมาในช่วง market top นั่นถูกขายขาดทุนในช่วงที่ผ่านมา และสร้างฐานใหม่ของราคาที่โซน $38k – $45k

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของเหรียญที่มีอายุมากกว่า 1 ปี โดยนำข้อมูลดั่งกล่าวมาวิเคราะห์ behavior ของนักลงทุนผ่าน reserve risk นอกจากนี้ยังมีการพูดถึง STH และ LTH ในแง่มุมต่างๆอย่างเช่น price distribution และต้นทุนของทั้งสองฝั่งอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 13, 2022
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่