ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 17, 2022
เป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่ราคาค่อนข้างผันผวนสำหรับ Bitcoin โดยที่ราคาเปิดของสัปดาห์อยู่ที่ low $38,729 ก่อนจะปรับตัวขึ้นไปทำ high ที่ $42,893 และปรับตัวลงมาอยู่ในระดับ $38k อีกครั้ง

ตลาด deriviatives
volume ของการเทรดในตลาด futures นั่นมีมากกว่าในตลาด spot อยู่หลายเท่า แต่อย่างไรก็ตาม volume ของการเทรด futures นั่นปรับตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2020 ที่ราวๆ $70B – $80B ต่อวัน ก่อนที่จะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ราวๆ $30.7B ต่อวันหรือลดลงกว่า 59% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน future open interest ปรับตัวลดลงมาจาก $22.5B – $25B ในช่วง ATH ลงมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงพฤษภาคม 2021 ที่ ราวๆ $15B ลดลงกว่า $36.8% โดยจาก $15B นั้นถูกแบ่งเป็น $10B ในสัญญาที่ไม่มีหมดอายุและ $5B สำหรับสัญญาที่มีหมดอายุ

การเทรดในตลาด futures ถือว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักลงทุนในช่วงที่ผ่านมา
- เส้นสีน้ำเงิน: แสดงถึง volume ของการสัญญา futures ที่ไม่หมดอายุเทียบกับ volume ของสัญญา futures ทั้งหมด โดยที่ปัจจุบันอยู่ที่ 92.4%
- เส้นสีชมพู: แสดงถึง volume ของการสัญญา futures ที่ไม่หมดอายุเทียบกับ open interest โดยที่ปัจจุบันอยู่ที่ 66%
ทาง glassnode ได้ตีความไว้ว่าสถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจากการที่ราคาของ BTC ในตลาด futures นั่นใกล้เคียงกับในตลาด spot มากขึ้นส่งผลให้นักลงทุนสามารถจัดการสัญญากับ leverage ได้ง่ายขึ้น

ซึ่งเราจะเห็นเทรนคล้ายๆกันในกราฟ futures open interest leverage ratio เช่นกันที่ทยอยปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วง 2021 โดยที่ปัจจุบันค่า open interest ของสัญญาแบบหมดอายุนั่นคิดเป็น 1.3% ของ market cap ของ BTC

การบีบอัดของ yield และความผันผวน
funding rates ในตลาด futures ไม่ได้ปรับตัวขึ้นเหมือนในช่วงตลาดขาขึ้นและไม่ได้ติดลบเหมือนในช่วงตลาดขาลง แต่กลับกันค่า funding rates กลับปรับตัวอยู่ในโซนแคบๆแสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของราคาและไม่สามารถบ่งบอกทิศทางของนักลงทุนได้

ถ้าหากนำ funding rate มาคิดแบบรายปีและเปรียบเทียบกับ 3-month rolling basis (ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้หากทำการ Spot-Future Arbitrage) โดยที่ปัจจุบัน yield ที่จะได้จากสองตัวนี้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่เพียง 3% โดยเมื่อเรานำไปเปรียบเทียบกับเงินเฟ้อที่ 8.5% แล้ว ค่อนข้างที่จะต่างกันอยู่มาก จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ volume ในการเทรดนั้นลดลงนั่นเอง

กราฟ Options ATM Implied Volatility จะเป็นการคาดการณ์ความผันผวนของราคาในตลาด options โดยที่ในปัจจุบันได้ปรับตัวลดลงอยู่ที่ราวๆ 60% ซึ่งเป็นค่าที่ค่อนข้างต่ำและส่วนมากจะเกิดในช่วงของการสร้างฐานหรือ consolidation

ปัจจุบันสัดส่วนระหว่าง volume ของ put ต่อ call ในตลาด option อยู่ที่ 86% และ open interest ของ put ต่อ call อยู่ที่ 51%

ความขัดแย้งบน onchain activities
total transfer volume ของ BTC ปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ $5.5B – $7B ต่อวันปรับตัวลดลงจากช่วง market peak ที่มีมากถึง $9.5 – $11B

ถึงแม้ total transfer volume จะลดลง แต่เมื่อเรามา breakdown ธุรกรรมตามขนาดเราจะเห็นว่าธุรกรรมที่มีขนาดมากกว่า $10M ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ตุลาคม 2020 และคิดเป็น 40% ของจำนวนธุรกรรมทั้งหมด

เมื่อเรามาสังเกตุใน volume ทั้งหมดที่เป็น entity adjusted จะเห็นว่าปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ $6B ต่อวัน และแบ่งเป็นการโอนเข้า exchange $1B และการโอนออก $1.1B

ถ้าหากเรานำค่า exchange flow (รวมการโอนออกและเข้า) มาหารกับ volume ทั้งหมดที่เป็น entity adjusted เราจะสามารถนำมาวิเคราะห์ pattern ต่างๆได้
ค่าสัดส่วนของทั้งสอง (เส้นสีส้ม) จะปรับตัวขึ้นก็ต่อเมื่ออยู่ในช่วง bull run อย่างเช่นในปี 2016-17 และ กรกฎาคม 2019 – พฤษภาคม 2021 และจะปรับตัวลงเช่นกันในช่วงตลาดหมี

กราฟ NVT price model จะเป็นการนำค่าเฉลี่ยสองปีมาคำนวนกับ volume ของธุรกรรมในแต่ละช่วง โดยที่ในกราฟข้างล่างจะแสดงให้เห็นถึง NVT price 28 (เส้นสีเขียว) ตัด NVT price 90 (เส้นสีชมพู) ในรอบขาขึ้น มักจะเป็นช่วงเวลาที่ราคาของ BTC ปรับตัวขึ้น
ซึ่งตรงจุดนี้ได้มีความขัดแย้งเมื่อเรานำไปเทียบกับตัวชี้วัดก่อนหน้าอย่าง exchange transfer volume dominance

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้กล่าวถึงสถานการณ์ต่างๆในฝั่งของตลาด derivatives ไม่ว่าจะเป็นการที่ volume เทรดนั่นปรับตัวลดลงและการที่ funding rates มีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากจนแทบไม่สามารถบอกทิศทางของนักลงทุนได้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงความขัดแย้งกันบน on-chain activities อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 17, 2022
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่