ภาพรวมของตลาด Bitcoin จาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 19, 2022
ราคาของ Bitcoin ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นถือว่าผันผวนอย่างมากหลังจากปรับตัวขึ้นไปทำ high ของสัปดาห์ที่ $39,881 ก่อนจะปรับตัวลงอย่างรุนแรงแตะ $33,890 ลดลงกว่า -13.8% ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

หลังจากที่ราคาของ Bitcoin ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบันราคาลดลงจาก ATH ในเดือนพฤศจิกายนกว่า 49.5% อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับตลาดหมีครั้งก่อนๆการปรับตัวลงของราคาในรอบนี้ยังถือว่าน้อยมาก โดยที่ในเดือนมิถุนายน 2021 ลดลงกว่า 54.2% และราวๆ 77% – 86% ในตลาดหมีปี 2015,2018, และ 2020

นอกจากนี้การที่ราคาของ BTC ปรับตัวลงยังส่งผลให้จำนวนของ supply, entities, และ addresses ที่กำไรนั่นมีจำนวนลดลงไปอีก ปัจจุบันมีราวๆ 60 – 62% ของ supply, entities, และ addresses ทั้งหมดที่ยังคงกำไรอยู่ โดยมีจำนวนคล้ายคลึงกับช่วง capitulation ในช่วงท้ายของตลาดหมีในปี 2018, 2019, และมีนาคม 2020

ในกราฟข้างล่างนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง network profitability ในรอบ 30 วัน โดยที่ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมามีอัตรา unrealized loss อยู่ที่ราวๆ -15.5%

ปฏิกิริยาจากฝั่ง On-chain
นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนในกราฟ accumulation trend score นั่นปรับตัวลงมาอยู่ที่ราวๆ 0.2 แสดงให้เห็นถึงเทรนของนักลงทุนที่อยู่ในช่วง redistribute เหรียญมากกว่าที่จะ accumulate นั่นเอง

เมื่อเราสังเกตุเทรนของนักลงทุนตามจำนวน BTC ที่ถือ เราจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนที่มี BTC มากกว่า 10k นั่นเป็นกลุ่มที่ได้ทำการ redistribute เหรียญมากที่สุดและกลับกันนักลงทุนที่มีน้อยกว่า 1 BTC นั่นส่วนมากจะ HODL และ accumulate กันนั่นเอง

Mempool หรือจำนวนของธุรกรรมที่ยังคงรอการยืนยันจาก miners และถ้าหากจำนวนของ mempool นั่นเยอะขึ้นจะส่งผลให้ต้องใช้เวลามากขึ้นในการยืนยันธุรกรรมนั่นเอง
เราได้เห็นว่ามีธุรกรรมกว่า 42k ที่เข้ามาใน mempool เยอะที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม 2021 ที่ทาง glassnode ได้เริ่มบันทึกเอาไว้

เนื่องจากมีความต้องการจำนวนมากและเร่งด่วนส่งผลให้ค่า fees นั่นพุ่งขึ้นสูงถึง 3.07 BTC เลยทีเดียว สูงกว่าในวันที่ 4 ธันวาคม 2021 ที่ราคาปรับตัวลดลงกว่า -34.5% ภายในหนึ่งวันเสียอีก

ค่า transaction fees ที่เกี่ยวข้องกับ exchange deposits นั่นก็ปรับตัวขึ้นเช่นกันโดยนับเป็นครั้งที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองที่ 15.2% รองจากเดือนพฤษภาคม 2021 ที่ค่า fees สูงถึง 16.8%

ในช่วงที่ผ่านมาจำนวนการโอนเข้าและออกของ exchanges นั่นได้ปรับตัวขึ้นอยู่ที่ราวๆ $3.15B โดยแบ่งเป็น $1.6B ในการโอนเข้าและ $1.55B โอนออกจาก exchanges แสดงให้เห็นถึง urgency ของนักลงทุนที่อยากจะซื้อขายเหรียญนั่นเอง

ปฏิกิริยาจากฝั่ง Off-chain
ในค่าเฉลี่ย 7 วันในของกองทุน Canadian ETF holdings ถึงแม้จะมีอัตราการโอน BTC เข้ามาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แต่กลับกันในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการโอนออกของ BTC ด้วยอัตรากว่า 6.66k ต่อสัปดาห์

ในฝั่งของตลาด derivatives ถึงแม้ราคาของ BTC จะมีความผันผวนอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่กลับไม่ใช่ใน future open interest ช่วงการประชุม FED วันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมาส่งผลให้มูลค่าของ future open interest ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า $1B ก่อนที่ปรับตัวลงมาในช่วงถัดมาที่ราวๆ $14.3B

ถ้าเรามาสังเกตุในการเปลี่ยนแปลงรายวันของ futures open interest เราจะเห็นว่า futures open interest ได้ปรับตัวขึ้นกว่า 30.4k BTC ในวันที่ 3 พฤษภาคมก่อนที่จะปรับตัวลดลงเหลือเพียง 25.48K BTC ในวันถัดมา
อย่างไรก็ตามมูลค่าของ futures open interest นั่นยังคงน้อยกว่าเหตุการณ์ deleverage ในครั้งก่อน แสดงให้เห็นว่าการที่ราคาปรับตัวลงในครั้งนี้สาเหตุหลักไม่ได้มาจากฝั่งตลาด derivatives นั่นเอง

เพื่อเป็นการยืนยัน ทาง glassnode จึงได้นำจำนวน liquidations ทั้งหมดในตลาด futures มาแสดงให้เห็นว่าในช่วงการเทขายนั้น มูลค่าของ liquidations ทั้งหมดนั่นอยู่ที่ $135M เทียบเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ของ traded futures volume โดยที่แบ่งเป็น 61.5% ในฝั่งสัญญา long และ 38.5% ในฝั่งของสัญญา short

ตั้งแต่ช่วงเทขายในเดือนมีนาคม 2020 มูลค่าของ stablecoins (USDT, USDC, BUSD และ DAI) ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก $5.33B เป็นกว่า $158.25B คิดเป็น 2,866% ในระยะเวลา 2 ปี โดยที่ USDT นั้นคิดเป็น 52.6% ของทั้งหมดและตามด้วย USDC ที่ 30.8%
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา supply ของ stablecoins ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยที่ aggreagate stablecoin supply ปรับตัวลดลงราวๆ $3.285B จาก ATH ที่ $161.53B มาอยู่ที่ $158.25B
นอกจากนี้ supply ของ USDC ได้ปรับตัวลดลงกว่า $4.77B นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคมและ USDT ปรับตัวเพิ่มขึ้นราวๆ $2.50B ในช่วงเวลาเดียวกัน

ในกราฟข้างล่างนี้จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของ supply ของ stablecoin ทั้งหมด (สีน้ำเงิน) และของ USDC (เส้นสีแดง) เราจะเห็นได้ว่าในช่วง 2020-22 ที่เป็นช่วง supply growth เหรียญ USDC นั่นถือว่าเป็นหนึ่งใน dominant player และเช่นกันในช่วงที่ stablecoin supply นั่นมีจำนวนลดลง USDC ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง major contributor เช่นกัน

สรุป
ในสัปดาห์นี้ทาง glassnode ได้กล่าวถึง reaction ของนักลงทุนที่มีต่อการเทขายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผ่านจำนวนธุรกรรมบน mempool และผ่าน volume การโอนเข้าและออก exchange นอกจากนี้ทาง glassnode ยังได้ยกประเด็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ของ stablecoins มาพูดถึงอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก On-chain report glassnode สัปดาห์ที่ 19, 2022
สามารถย้อนกลับไปอ่านภาพรวมตลาดบิทคอยน์หรือบทความต่างๆย้อนหลังได้ ที่นี่