หลาย ๆ คนเมื่อเข้ามาในโลกคริปโตแล้ว เริ่มมองหาวิธีการเก็บรักษาทรัพย์สินด้วยตนเอง(Self-custody) ซึ่ง Hardware Wallet นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่หลาย ๆ คนเลือกใช้เพื่อเก็บรักษาเหรียญด้วยตนเอง
ในบทความนี้แอดอยากจะเขียนอีกมุมมองก่อนที่หลาย ๆ คน โดยเฉพาะมือใหม่ที่อยากจะเก็บรักษา Digital Assets ด้วยใช้ Hardware Wallet มาเริ่มกันเลยครับ
1. เรื่องความรู้ความเข้าใจในการดูแล Seed Phrase ด้วยตนเอง
ถือเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเลยครับ เพราะความเสี่ยงของการเก็บรักษา Digital Assets ด้วยตนเองนั้น คือการดูแล Seed Phrase หรือคำ 12, 24 คำ ที่เราจดไว้ ให้อยู่รอดปลอดภัยครับ หมายความว่า เมื่อเราเก็บสินทรัพย์ด้วยตนเองแล้วนั้น ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้แล้วครับ ทั้งการฝากหรือถอนเหรียญ หรือการนำเหรียญไปฝากที่ DeFi ที่ต่าง ๆ ถ้าหากเราดูแล Seed Phrase ได้ไม่ดีแล้วหลุดไปก็จะมีคนอื่นสามารถเข้ามาจัดการกระเป๋าเราได้ หรือหากทำหายไปนั่นก็แปลว่าเราไม่สามารถเข้าถึงกระเป๋าเหล่านี้ได้อีกต่อไปแล้วครับ
ซึ่งถ้าใครยังไม่มั่นใจว่า ตัวเราเองจะดูแล Seed Phrase ของตัวเองได้ดีขนาดนั้นไหม? เรารู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรักษา Digital Assets ด้วยต้นเองไหม? การฝากไว้ที่ Exchange นั้นอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เราสามารถทำได้เช่นกันครับ แต่การที่เราฝาก Digital Assets ไว้ที่ Exchange นั้นก็เหมือนกับฝากให้คนอื่นดูแล Digital Assets ของเรา เราเชื่อใจเขาได้แค่ไหน? หาก Exchange ปิดหนีไป Digital Assets เราก็อาจจะหายไปด้วยก็ได้ครับ
จุดนี้เราอาจจะต้องเปรียบเทียบความเสี่ยงกันดูก่อนครับ ใช่ว่า Hardware Wallet จะเหมาะกับทุก ๆ คนครับ เพื่อน ๆ แอดหลายคนก็ไม่ได้ใช้งาน Hardware Wallet เนื่องด้วยหลายปัจจัยครับ เช่น เทรดเป็นประจำ ยังไม่ได้ศึกษาการดูแลรักษาเหรียญด้วยตนเอง ซึ่งก็สามารถใช้งาน Exchange หลาย ๆ เจ้าในไทยที่อยู่ภายใต้การดูแลของกลต. เลือกใช้กันได้เลยครับ
2. ความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมต่าง ๆ บน Blockchain
ก่อนที่เราจะใช้งาน Hardware Wallet ให้ปลอดภัยนั้น เราควรที่จะรู้และเข้าใจการที่เราทำธุรกรรมต่าง ๆ บน Blockchain การที่เราจะทำธุรกรรมบน Blockchain นั้น เราจะต้องมีการกด Sign ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งการที่เราจะกด Sign นั้น เราต้องรู้ว่าสิ่งที่เรา Sign ไปนั้นจะส่งผลอย่างไรกับกระเป๋าของเรา เช่น การกด ApproveForAll นั้น หมายถึงอนุญาตให้ Smart Contract เข้าถึงกระเป๋าของเราได้ทั้งหมด เสียหายกันมาก็เยอะครับกับการกด Sign ในสิ่งที่เราไม่รู้จริง ๆ ครับ
การที่เราจะทำธุรกรรมใด ๆ นั้นควรศึกษาให้รอบครอบก่อนนะครับ เพราะเมื่อธุรกรรมถูกยืนยันแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับได้อีกครับ
3. ความเสี่ยงจากการถูกโจมตีผ่าน Firmware
เรามาทำความเข้าใจคำว่า Firmware กันก่อนครับ Firmware มีไว้ทำอะไร?
Firmware เป็นตัวกลางในการเก็บและจัดการ Private Key ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึง Digital Assets ของเรา โดยเมื่อเราทำธุรกรรมบนบล็อคเชน ตัว Private Key จะไม่ถูกส่งออกจาก Hardware wallet แม้จะมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ตาม
และผู้ผลิต Hardware Wallet มักจะปล่อยการอัพเดต Firmware เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและแก้ไขช่องโหว่ที่อาจพบในเวอร์ชันเก่า การอัพเดต Firmware เป็นเรื่องสำคัญเพื่อป้องกันการโจมตีและเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์
ซึ่งความเสี่ยงของการถูกโจมตีผ่าน Firmware คือ อาจมีช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถโจมตีและเข้าถึงข้อมูลของเราได้ หากมีการอัพเดต Firmware ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นการอัพเดตจาก Official Website และหลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือเลือก Hardware Walet ที่เปิดเผย Source Code Firmware อย่างเช่น OneKey, Keystone หรือ Trezor เป็นต้น
4. ความเสี่ยงกับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัย
การใช้งาน Hardware Wallet ร่วมกับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น อุปกรณ์ที่ไม่มีโปรแกรมป้องกันไวรัสหรือมีระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้อัพเดต อาจเพิ่มความเสี่ยงในการถูกโจมตีได้ หรือแม้แต่การใช้ซอฟต์แวร์ปลอมก็มีโอกาสที่จะถูกโจมตีได้เช่นกันครับ
5. ค่าธรรมเนียม(Fee)ในการการทำธุรกรรมบน Blockchain
หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องค่าธรรเนียมบนบล็อคเชน ในบางครั้งที่เราโอนเหรียญที่ไม่ใช้ Native Token มาที่ Hardware Wallet แต่ไม่สามารถทำธุรกรรมต่อได้ เนื่องจากไม่มี Native Token สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียม เราใช้ PromptPay กันจนชินจนลืมไปแล้วว่าเมื่อก่อนการโอนผ่านข้ามธนาคารเสียค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมบนบล็อคเชนนั้นจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของการใช้งาน ซึ่งในแต่ช่วงจะไม่เท่ากัน หากต้องการใช้งานจะต้องคอยดูว่าช่วงไหนถูก และจุดนี้เองหลายคนจะค่อนข้างตกใจกับค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าใน Exchange มาก ๆ ในบางบล็อคเชน เช่น Ethereum เป็นต้น บางคนต้องการเทรดบ่อย ๆ ก็จะไม่เหมาะกับการเก็บ Digital Assets กับ Hardware Wallet
สรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับการใช้งาน Hardware Wallet
Hardware Wallet อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรักษา Digital Assets ด้วยตนเองแบบ 100% ไม่มีใครเอา Digital Assets ของเราไปได้ หากเราไม่ทำทำหายเอง
ซึ่งจะแตกต่างกันกับการฝากเหรียญไว้ที่ Exchange จะมีความง่ายในการใช้งานและสะดวกสบายในการเก็บรักษามาก ๆ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการฝากให้ผู้อื่นดูแล Digital Assets ของเรา ซึ่งก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกันหาก Exchange ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลและกำกับของกลต. ปิดแล้วหอบเงินหนีไป เงินเราก็หายไปได้เช่นกันครับ
การใช้งาน Hardware Wallet มีความปลอดภัยสูง แต่ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นยังคงมีอยู่ การเตรียมตัวและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนใช้งานจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของเราได้ครับ
Not you keys not your coins ครับ หากมีเรื่องแนะนำสามารถแนะนำกันเข้ามาได้นะครับ เจอกันในบทความหน้าครับ
1 ความคิดเห็น
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ