การเชื่อมต่อของ Hardware Wallet แต่ละแบบ มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร?

การเชื่อมต่อของ Hardware Wallet แต่ละแบบ มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร?

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Hardware Wallet นั้น เป็นอุปกรณ์สำหรับการเก็บรักษาและบริหารจัดการกุญแจของเรา หมายความว่า Hardware Wallet ไม่ได้ทำหน้าที่เก็บ Bitcoin หรือ Cryptocurrency แต่หน้าที่เก็บ Private key และ Public key ให้กับเรานั่นเอง


Hardware Wallet จำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อหรือสื่อสารกับ Wallet Application บนคอมพิวเตอร์หรือเชื่อมต่อกับ Smart phone ซึ่งจะมีการการเชื่อมต่อหลากหลายรูปแบบ โดยการเชื่อมต่อแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อควรระวังที่แตกต่างกันออกไป 


บทความนี้จะพูดถึงการเชื่อมต่อของ Hardware Wallet ในรูปแบบต่าง ๆ และวิเคราะห์ข้อดี ข้อจำกัดของแต่ละรูปแบบหลัก ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้งาน

1. การเชื่อมต่อผ่านสาย USB

 

การเชื่อมต่อผ่าน USB คือการใช้สาย USB เพื่อเชื่อมต่อ Hardware Wallet กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทำการรับธุรกรรมผ่านสาย USB จากนั้นสร้างลายเซ็นดิจิทัลและส่งกลับมายังอุปกรณ์อีกครั้งเพื่อบันทึกลงบน Blockchain อีกครั้ง โดยจะไม่มีการเปิดเผย Private key ให้กับอุปกรณ์ที่ที่เชื่อมต่ออยู่เลย


ข้อดี: 

  • ความปลอดภัยค่อนข้างสูง: การเชื่อมต่อผ่าน USB มีความปลอดภัยค่อนสูงเนื่องจากข้อมูลจะถูกส่งผ่านสาย USB โดยตรง ไม่มีการส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยีไร้สายที่อาจถูกดักฟังหรือแฮ็กได้ง่าย
  • ไม่ใช้แบตเตอรี่: Hardware Wallet ที่ใช้การเชื่อมต่อผ่าน USB นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ ซึ่งลดความยุ่งยากในการชาร์จและดูแลรักษา
  • ง่ายต่อการใช้งาน: เพียงแค่เสียบ USB เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้งาน ก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเติม

ข้อจำกัด:

  • ข้อจำกัดในการพกพา: เนื่องจากต้องใช้สาย USB อาจจะให้ไม่สะดวกในการพกพาและใช้งานนอกสถานที่
  • ข้อจำกัดในการใช้งานกับอุปกรณ์: บางครั้งอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟนอาจไม่มีพอร์ต USB ที่เหมาะสม ทำให้เชื่อมต่อทำได้ยาก

 

ตัวอย่าง Hardware Wallet:



2. การเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth

 

การเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth คือการใช้คลื่นวิทยุเพื่อเชื่อมต่อ Hardware Wallet กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องใช้สายใด ๆ


ข้อดี: 

  • ความสะดวกสบาย: ไม่ต้องใช้สาย USB ทำให้พกพาไปใช้นอกสถานที่ได้ง่าย
  • รองรับการใช้งานกับหลายอุปกรณ์: การเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ทำให้สามารถใช้งานกับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ง่าย

ข้อจำกัด:

  • ต้องใช้แบตเตอรี่: Hardware Wallet ที่เชื่อมต่อผ่าน ผ่าน Bluetooth จะต้องการอาศัยแบตเตอรี่ในการใช้งาน ซึ่งต้องมีการชาร์จและดูแลรักษา
  • ความปลอดภัยที่อาจลดลง: การเชื่อมต่อไร้สายอาจมีความเสี่ยงในการถูกดักจับข้อมูลหรือแฮ็กได้ง่ายกว่าการเชื่อมต่อผ่านสาย USB

ตัวอย่าง Hardware Wallet:

 

 

3. การเชื่อมต่อผ่าน NFC (Near Field Communication)

 

การเชื่อมต่อผ่าน NFC คือการใช้สัญญาณวิทยุระยะสั้นเพื่อเชื่อมต่อ Hardware Wallet กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น สมาร์ทโฟน โดยต้องนำอุปกรณ์มาใกล้กันมาก ๆ เพื่อเชื่อมต่อ

ข้อดี: 

  • สะดวกมาก: การเชื่อมต่อผ่าน NFC สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสะดวก โดยไม่ต้องใช้สาย
  • ปลอดภัยค่อนข้างสูง: มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ Bluetooth เนื่องจากระยะการเชื่อมต่อน้อยมาก

ข้อจำกัด:

  • ความทันสมัยของอุปกรณ์: ปัจจุบันอุปกรณ์ที่รองรับ NFC อาจยังมีไม่มาก และบางอุปกรณ์อาจไม่รองรับ จึงต้องสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์
  • ข้อจำกัดระยะทาง: ต้องนำอุปกรณ์มาใกล้กันมากถึงจะเชื่อมต่อได้

ตัวอย่าง Hardware Wallet:

 

4. การเชื่อมต่อแบบ Air-gapped 

 

การเชื่อมต่อแบบ Airgapped คือ การเชื่อมต่อแบบไร้สาย โดยไม่มีการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ผ่านช่องทางที่อาจเสี่ยงต่อการดักฟังได้ โดยการใช้ช่องทางการส่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ยากต่อการดักข้อมูล เช่น การใช้ microSD card, OR-code เป็นต้น

ข้อดี: 

  • ความปลอดภัยสูงสุด: เนื่องจากอุปกรณ์ไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายไร้สาย จึงลดความเสี่ยงในการถูกแฮ็กหรือการโจมตีจากระยะไกลได้
  • ป้องกันมัลแวร์: เนื่องจากไม่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือออนไลน์ อุปกรณ์ที่เราใช้งานจะทีโอกาสน้อยที่จะติดมัลแวร์หรือไวรัส

ข้อจำกัด:

  • การใช้งานที่ยุ่งยาก: การทำธุรกรรมหรือการเข้าถึงข้อมูลต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน เช่น การใช้ QR code, USB drive หรือ SD card ในการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาและยุ่งยาก
  • ความรวดเร็ว: ไม่สะดวกในการใช้งานในสถานการณ์ที่ต้องการความรวดเร็ว เช่น การทำธุรกรรมทันทีทันใด
  • ข้อจำกัดในการอัปเดต: การอัปเดตซอฟต์แวร์หรือเฟิร์มแวร์อาจต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลามากกว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแบบอื่น เนื่องจากจะต้องไปดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์ลง SD card เอง

ตัวอย่าง Hardware Wallet:


สรุป

การเชื่อมต่อของ Hardware wallet นั้นมีหลายรูปแบบให้เราได้เลือกใช้งานตามความถนัด ซึ่งแต่ละแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อด้อย หากเราใช้งาน Hardware Wallet อย่างถูกวิธี เช่น ไม่บันทึก Seed phrase ไว้ในแบบออนไลน์ ไม่นำ Seed phrase ไป restore บน Software Wallet หรือข้อความระวังที่ใหญ่ที่สุดก็คือตัวเราเองต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง มีความตระหนักก่อนทำ Transaction เสมอครับ


Reference

https://trezor.io/learn/a/trezor-hardware-built-in-security

https://blog.keyst.one/why-air-gap-hardware-wallets-offer-superior-security-over-usb-connected-hardware-wallets-8343fa76f7d4

กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่