ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาตลาดคริปโตและบิทคอยน์เริ่มกลับมาคึกคักกันอีกครั้ง ซึ่งสิ่งที่เราควรตระหนักกันก็คือความปลอดภัยของ Digital Assets นอกจากจะใช้ Hardware Wallet ในการเก็บ Private keys เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแล้ว แต่เรายังสามารถใช้ Multisig Wallet ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Digital Assets ของเราได้อีกขั้น ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Multisig Wallet ว่ามันคืออะไร เหมาะกับใครบ้าง และทำไมถึงควรใช้งาน
Multisig Wallet คืออะไร?
Multisig หรือ Multi-Signature Wallet คือ Digital Wallet ที่ต้องใช้หลาย ๆ ลายเซ็นหรือหลาย ๆ กุญแจในการเข้าถึงกระเป๋าเงินเพื่อทำธุรกรรรมต่าง ๆ ลดการพึ่งพากุญแจเพียงดอกเดียว เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มการป้องกันการทุจริตของกระเป๋าเงินได้ ผู้ที่ใช้งาน Multisig Wallet จะต้องใช้ลายเซ็นจำนวน 2 ลายเซ็นต์ขึ้นไปจึงจะทำธุรกรรมได้
หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพแบบที่เราคุ้นเคยกัน คือ การเปิดบัญชีธนาคาร่วมหรือบัญชีคู่นั่นเอง หากต้องการถอนเงินหรือทำธุรกรรมอื่น ๆ ต้องใช้ลายเซ็นตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้จึงจะทำธุรกรรมได้
เทคโนโลยี Multisig ได้มีมาตั้งแต่ก่อนที่ Bitcoin จะเกิดขึ้นมา และถูกนำมาใช้ครั้งแรกกับ Bitcoin ในปี 2012 จากนั้น Multisig ถูกนำไปใช้งานเกี่ยวกับความปลอดภัยกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
ทำไมจึงต้องใช้ Multisig Wallet?
หากมองในด้านความปลอดภัยของ Digital Assets การใช้ Multisig นั้นถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับกระเป๋า เนื่องจากการใช้ Private key เพียงอันเดียวในการบริหารจัดการกระเป๋า หาก Private key หลุดหรือถูกขโมยไปอาจจะทำให้มีการทำธุรกรรมได้อย่างง่ายดาย
ฉะนั้นการใช้ Private key ตั้งแต่ 2 อันขึ้นไปในการบริหารจัดการกระเป๋าจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการเพิ่มความปลอดภัยของกระเป๋าได้ เพราะหากมี Private key ของกระเป๋าใดกระเป๋าหนึ่งหายหรือถูกขโมยไปก็ยังมีกระเป๋าส่วนที่เหลือใช้ทำธุรกรรมได้
Multisig Wallets เหมาะกับใครบ้าง?
Multisig Wallet นั้นสามารถใช้ได้ในหลายกรณี ซึ่งในยบทความผู้เขียนจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ กลุ่มคนหรือองค์กร และการใช้งานของบุคคลทั่วไป
Multisig Wallet เหมาะกับกลุ่มคนหรือบริษัทอย่างไร?
การบริหารกระเป๋าของกลุ่มนักลงทุนและองค์กรหรือบริษัทนั้นต้องการการอนุมัติการทำธุรกรรมจากหลายบุคคลเพื่อความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ยังช่วยป้งกันการที่คนใดคนหนึ่งในบริษัถอนเงินออกจากกระเป๋าได้ด้วยตัวคนเดียว และลดความผิดพลาดจากการทำธุรกรรมเพราะจะมีผู้ที่ช่วยตรวจสอบการทำธุรกรรมมากขึ้น
กรณีศึกษา: การใช้ Multisig Wallet ในองค์กร
องค์กร ABC ต้องการทำธุรกรรม ซึ่งกำหนดการใช้งานใช้ Multisig Wallet โดยต้องการ 3 ลายเซ็นจาก 5 คนในคณะกรรมการ เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมทุกครั้ง นั่นหมายความว่า ทุกธุรกรรมจะไม่สามารถดำเนินการได้ ถ้าไม่มีการยืนยันจากสมาชิกอย่างน้อย 3 คน
กรณีศึกษา: การใช้ Multisig Wallet ในการระดมทุน
โปรเจค X ต้องการระดมทุนจากนักลงทุนหลายคน โดยใช้ Multisig Wallet ที่ต้องการ 2 ลายเซ็นจาก 3 คน ซึ่งช่วยให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น
Multisig Wallet เหมาะกับบุคคลทั่วไปอย่างไร?
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการใช้ Multisig Wallet จะใช้ในกรณีที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัยในกับกระเป๋า โดยจะกระจาย Private key ไว้หลาย ๆ ที่ในการเก็บ Private key เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกแฮกกระเป๋า
หากมีกระเป๋าใดกระเป๋าถูกแฮก Private key ก็ต้องอาศัยลายเซ็นมากกว่า 2 ลายเซ็นเพื่อทำธุกรรม นั่นจึงให้การใช้ Multisig Wallet จึงปลอดภัยกว่าการไม่ใช้มาก
Multisig Wallet มีหลักการทำงานอย่างไร?
Multisig Wallet เป็น Crypto Wallet ที่ต้องใช้ Private Keys ตั้งแต่ 2 Private keys ขึ้นไปในการเซ็นเพื่อทำธุรกรรม ดังนั้นจึงยกระดับความปลอดภัยให้กับ Digital Assets ได้ ฉะนั้นหากมีไม่ถึงที่กำหนดไว้ เช่น 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมได้
ข้อดีและข้อควรระวังของการใช้งาน Multisig Wallet
ข้อดีของการใช้งาน Multisig Wallet
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับ Digital Asset เนื่องจากต้องมีการเซ็นหลายลายเซ็นในการยืนยันการทำธุรกรรม ทำให้ยากต่อการถูกแฮกได้
- ความยืดหยุ่น สามารถกำหนดจำนวนลายเซ็นที่ต้องการได้ เช่น 2 จาก 3 หรือ 3 จาก 5
- การใช้งานร่วมกัน เหมาะสำหรับการใช้งานในองค์กรหรือกลุ่มคนที่ต้องการแชร์การควบคุมกระเป๋าเงินร่วมกัน
- ความซับซ้อนการใช้งานMultisig นั้นต้องอาศัยความเข้าใจและการจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการใช้งาน
- การพึ่งพาบุคคลอื่นมากเกินไป หากมีผู้เซ็นลายเซ็นไม่สามารถเข้าถึง Private Keys ของตนเองได้หรือทำสูญหาย อาจจะทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ตามที่ต้องการ
- การจัดการ Private Keys การจัดการ Private Keys หลายคนอาจเพิ่มความยุ่งยากในการทำธุรกรรมได้
สรุป
Multisig Wallet เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการเพิ่มความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในบริหารจัดการ Digital Assets ถึงแม้ว่าจะมีความซับซ้อนในการใช้งานบ้าง แต่เมื่อเทียบกับข้อดีที่ได้รับแล้วนั้นก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการจัดการบริการ Digital Assets ทั้งในระดับองค์กรและบุคคลทั่วไป