มือใหม่เลือก Hardware Wallet ยังไงดี? ฉบับปี 2024

มือใหม่เลือก Hardware Wallet ยังไงดี? ฉบับปี 2024

มีเพื่อน ๆ หลายคนเข้ามาปรึกษาทางเพจ Facebook และทาง Line Official กับทางแอดมินเรื่องการเลือกซื้อ Hardware wallet อันแรกหรือซื้อเพิ่ม เพราะยังตัดสินใจไม่ได้ว่า “ควรซื้อ Hardware wallet อันไหนดี?” 

ก่อนที่จะไปเลือกซื้อ Hardware wallet นั้น เรามาทำความเข้าใจเรื่อง Crypto wallet กันก่อนดีกว่าครับ ว่า Crypto wallet นั้นมีกี่แบบและแบบไหนบ้าง? และแต่ละแบบต่างกันยังไง? 

 

Crypto wallet คืออะไร?

Crypto wallet หากแปลตรงตัวจะแปลว่ากระเป๋าคริปโต เลยอาจจะทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าเราเก็บเหรียญหรือคริปโตไว้ในกระเป๋านี้  

จริง ๆ แล้ว Crypto wallet คือ แอพพิเคชันหรือซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บ Private key หรือ Master Seed (สร้างมาจาก Seed Phrase 12, 24 คำที่เราจด) ซึ่งทำให้เราเข้าถึงเหรียญที่ถูกเก็บอยู่บน Blockchain ได้

 

ปัจจุบันเราใช้งาน Crypto wallet หลากหลายประเภทตามความต้องการในการใช้งาน เพื่อน ๆ มือใหม่หลายคนอาจจะยังแยกไม่ออกว่า Crypto wallet ที่ใช้งานอยู่นั้นคืออะไร? มันปลอดภัยแค่ไหน? ใช้แค่บัญชีใน Exchange ได้หรือไม่? แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะต้องใช้ Hardware wallet ด้วย? 

 

วันนี้ผมจะมาแยกประเภทของ Crypto wallet ตามการเก็บ Private key (Not your keys not your coins นะครับ) เพื่อที่เราจะได้ใช้งาน Crypto wallet ได้อย่างปลอดภัยและเข้าใจมากขึ้นครับ 

หากเริ่มต้นดูตาม Flow-chart ที่ผมทำขึ้นมานั้น ผมจะเริ่มการแบ่งที่การเก็บ Private key เลยครับ เพราะจากหลาย ๆ ผลกระทบของหลายเหตุการณ์ที่เราเคยเห็นกันมาจากการที่เราไม่ได้เก็บ Private key เอง เช่น Exchange ปิดตัวลงไปทำให้เราถอนเงินของเราเองไม่ได้ทั้ง ๆ ที่เราก็มีรหัสเข้าทำไมเราถึงถอนเงินไม่ได้ ทำไมต้องได้รับการอนุญาตจาก Exchange ก่อน นั่นแหละครับ เป็นการที่เรายังต้องอาศัยผู้อื่นในการเข้าถึงกระเป๋าของเราเองอยู่ครับ
(รูปบนเว็บอาจจะไม่ชัดมาก คลิกเข้าไปดูได้ที่นี่ได้ครับ)

  

1. Custodial Wallet

Custodial wallet คือ กระเป๋าที่เราไม่ได้เก็บ Private key เองครับ เป็นกระเป๋าที่เรายังต้องอาศัยผู้อื่นในการสร้าง Key ในกับเราแทน ทั้ง Public key(ใช้แปลงเป็น Wallet address) และ Private key เอาไว้ยืนยันความเป็นเจ้าของ ซึ่งหากเราต้องการใช้งานต้องสมัครเข้ามาใช้บริการ เช่น Bitkub, BinanceTH, Bitazza หรือ Exchange อื่น ๆ เป็นต้น


ซึ่ง Custodial wallet นั้นก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียอย่างเดียวนะครับ ส่วนมากที่เราใช้ Custodial wallet หรือ Exchange กัน เนื่องจากใช้งานง่าย สะดวก เข้าใจได้ง่ายกว่าฝั่ง Non-Custodial wallet ครับ เหมาะกับการซื้อ - ขาย สินทรัพย์ เพราะแค่เปิดมือถือก็สามารถซื้อขายได้แล้วครับ


สรุปข้อดี - ข้อเสียขออง Custodial wallet

ข้อดี

  • ใช้งานง่าย ซื้อ-ขาย สะดวก รวดเร็ว
  • เหมาะกับคนเก็งกำไรระยะสั้น ๆ ครับ ไม่ได้เหมาะกับการเก็บในระยะยาว

ข้อเสีย

  • เราไม่ได้เก็บ Key เองครับ คนที่เก็บคือผู้ให้บริการที่เราเข้าไปใช้งาน 
  • ถ้า Exchange ปิดตัวหนี เราก็ซวยครับ เอาเหรียญออกไม่ได้ครับ

 

 

2. Non-Custodial Wallet

Non-Custodial wallet คือ กระเป๋าที่เราเก็บ Private key เองครับ เราสามารถดาวน์โหลดแอพพิเคชันมาใช้งาน เช่น OneKey, Trezor หรือใช้งานผ่าน Website brower เช่น MetaMask, Ronin ได้เลยครับ 

โดยเราสามารถสร้าง Seed phrase จากอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่เราใช้งานได้เองครับ วิธีการสร้าง seed phrase แบบละเอียดยิบดูที่นี่ได้เลยครับ พี่บิทอธิบายเข้าใจง่ายครับ มือใหม่ข้ามวิธีการสร้าง seed phrase ไปก่อนได้ครับ หากอุปกรณ์หรือ Software สูญหายหรือปิดการใช้งาน เราก็แค่นำ Seed phrase ไปกู้คืน หรือ  Recovery ในอุปกรณ์หรือ Software ใหม่ได้ครับเพราะเราเรามี เพราะ seed phrase เป็นตัวสร้าง master seed ซึ่ง private key ทั้งหมดที่เราเคยใช้ภายใต้ master seed นี้อยู่ก็จะสามารถกู้คืนมาได้หมด ทำให้เราสามารถเข้าถึงเหรียญของเราที่ถูเก็บอยู่บน Blockchain ได้ทั้งหมด

 

แต่การที่เราสามารถสร้าง seed phrase เองได้นั้นก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไปครับ หากดูตาม Flowchart แล้วนั้น ยังสามารถแบ่ง Non-Custodial wallet ออกได้อีก 2 ประเภทครับ คือ Hot wallet และ Cold wallet 

(หากรูปไม่ชัดจากคลิปที่นี่ดูเพิ่มเติมได้ครับ)

 

Hot wallet คือ กระเป๋าที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งใช้งานได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว อยู่ในรูปแบบของ Software Wallet ที่เราคุ้นเคยกัน อย่างเช่น MetaMask wallet, OKX wallet, Wallet connect เป็นต้น 

โดยเวลาเราสร้าง Seed phrase ก็จะสร้างการบนคอมพิมเตอร์หรือมมือถือบน Software ที่เราใช้งาน อาจจะทำให้ Seed phrase หลุดไปได้ ตัวอย่างเคสของการสร้าง Seed phrase บน MacBook  ที่ล่าสุดมีช่องโหว่ที่สามารถ dump ข้องมูลออกมาจากชิปได้ เป็นต้น

 

Cold Wallet คือกระเป๋าที่ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเลย จะมีความปลอดภัยสูง แต่มีขั้นตอนการใช้งานที่ยุ่งยากเล็กน้อย โดยจะอยู่ในรูปแบบของ Hardware Wallet เช่น OneKey, Trezor, Keystone, Ledger เป็นต้น

โดยเวลาเราสร้าง Seed phrase จะสร้างบน Hardware wallet ได้เลยโดยไม่ต้องอาศัย Internet ครับ ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่ Seed phrase จะหลุดไปได้ นอกจากเราจะถ่ายรูปเก็บไว้บนมือถือ ใส่ไว้ใน Note หรือวิธีที่อันตรายมากก็คือ การนำ Seed Phrase ไป Recovery บน Hot wallet เพื่อลดความยุ่งยากในการใช้งาน Hardware wallet จะทำให้ความปลอดภัยของ Hardware wallet ที่เราอุตส่าห์เสียตังซื้อมานั้นไม่มีความหมายอะไรเลยครับ ฉะนั้นไม่ควร Recovery บน Hot wallet ครับ

 

กลับมาที่คำถาม “ควรเลือก Hardware wallet อันไหนดี?”

จากที่อธิบายเรื่อง Crypto wallet กันไปแล้ว อาจจะพอเห็นภาพการเลือก Wallet ที่ตามความเหมาะสมของการใช้งานแล้ว ปัจจุบัน Hardware wallet มีหลากหลายยี่ห้อที่ให้เลือกใช้งานกัน แต่ยิ่งเยอะอาจจะสร้างความสับสนให้มือใหม่หลาย ๆ คนว่า จะต้องเริ่มดู Hardware wallet ที่เหมาะกับตัวเองยังไง? 

 

ยี่ห้อที่ผมนำมาให้เลือกในวันนี้จะมีเป็น OneKey, Keystone, Trezor และ Ledger ครับจะเลือกจาก Blog นี้ครับ เปรียบเทียบ Hardware wallet แต่ละรุ่นล่าสุด ปี 2024 

ผมเลยลองทำ Flowchart ที่จะค่อย ๆ แกะความต้องการของเราไปเรื่อย ๆ เพื่อช่วยให้เราไม่หลงประเด็นในการเลือก Hardware wallet ด้วยตนเองครับ ค่อย ๆ ไล่ตามไปทีละประเด็นกันครับ 

มาเริ่มกันที่ประเด็นแรกคือ จุดเริ่มต้นของ Cold wallet ที่อยู่ในรูปแบบ Hardware wallet กันเลยครับ

Open source firmware หรือไม่?


Source Code Firmware ที่พัฒนาตัว Hardware Wallet ว่าเปิดเผยให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสและทุกคนสามารถร่วมกันตรวจสอบ Source Code ของ Hardware Wallet 


ผมเลยยกมาเป็นประเด็นแรกในการตัดสินใจที่จะเลือก Hardware wallet ครับ ความโปร่งใส ตรวจสอบได้นั้นความจะมาอันดับหนึ่งครับ เพราะการที่ไม่เปิดเผย Firmware นั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยครับว่า Firmware ที่เราอัพเดทไปนั้นคืออะไร ปลอดภัยหรือไม่? 


ไม่เปิดเผย Open source firmware

ในประเด็นนี้เลยจะทำให้แยกแก๊ง Ledger ออกไปฝั่งที่ไม่ Open source firmware ครับ 

ฝั่งแก๊ง Ledger หากใครไม่ได้กังวลประเด็นเรื่องการเปิดเผย Source Code Firmware มากนัก ก็ยังไปต่อกับ Ledger ได้ครับ 


ประเด็นต่อมาในฝั่ง Ledger คือ ต้องการใช้งานกับมือถือหรือไม่? 

  • ถ้าไม่ต้องการใช้งานกับมือถือ ก็สามารถเลือก Leger Nano S Plus ได้เลยครับ
  • ถ้าต้องการใช้งานกับมือถือ ก็จะมีตัวเลือกให้เลือกอีกสองตัวครับ คือ Ledger stax และ Ledger Nano X ซึ่งราคาก็แตกต่างกันพอสมควรครับ ความแตกต่างของสองตัวนี้สามารถดูในตารางนี้ได้เลยนะครับ ผมเคยเคยเปรียบเทียบกันไว้แล้วครับ 

ผมอาจจะไม่ได้ลงลึกกับฝั่ง Ledger มากนะครับ เพราะเนื่องจากเขาไม่ได้ Open source code firmware ครับ 


เปิดเผย Open source firmware

ข้ามไปดูอีกฝั่งที่เปิดเผย source code firmware แล้วครับ ฝั่งนี้จะมี 3 ยี่ห้อที่เข้ารอบมาก็คือ OneKey, Keystone และ Trezor ครับ ซึ่งก็มีหลายรุ่นให้เลยเลยครับ เดี๋ยวไล่ไปที่ประเด็นต่อไปครับ

ต้องการใช้งานกับมือถือหรือไม่?

ถ้าใครเลือกไม่ต้องการ ค่อย ๆ ไต่ลงมาตามเส้นฝั่งนี้ให้จบก่อนนะครับ เดี๋ยวค่อยไปดูอีกไปอีกฝั่งก็ได้ครับ :)

ไม่ต้องการ ใช้งานกับมือถือ

ฝั่งนี้จะเหมาะกับคนที่ไม่เทรดบ่อย ๆ เก็บยาวครับ เพราะหากต้องการใช้งานต้องใช้งานบนคอมพิวเตอร์เท่านั้นครับ ไม่สามารถเชื่อมต่อกับมือถือได้ครับ ได้แก่ OneKey mini, Trezor Model T, Trezor Safe 3 และ Trezor Model One ครับ จริง ๆ เราสามารถติดตาม Porftfolio ผ่านมือถือได้นะครับ อ่านแอพที่ใช้ดูได้ที่นี่ครับ

ต้องการ ใช้งานกับมือถือ กดที่นี่เพื่อข้ามไปดู flow ต่อไปเลยครับ


มี Secure Element
Chip EAL6+ หรือไม่?

Secure Element
Chip คือการออกแบบที่ทำให้ Hardware Wallet ปลอดภัยมากขึ้น โดยหน้าที่ของ Secure Element Chip มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นความลับมาก ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเก็บ Seed Phrase หรือ Master Private Key นั่นเอง 

ไม่ต้องการ Secure Element
Chip EAL6+

 สามารถเลือก OneKey mini, Trezor Model One และ Trezor Model T

ต้องการ Secure Element
Chip EAL6+

เลือก Trezor Safe 3 ได้เลยครับ

งบประมาณน้อยกว่า 3,000 บาท

ใช่ งบน้อยกว่า 3,000 บาท

เลือก OneKey mini ได้เลยครับ ราคา 2,400฿ สั่งซื้อได้ที่นี่ครับ

ไม่ งบมากกว่า 3,000 บาท

มีตัวเลือกให้เลือก 2 รุ่นครับ ได้แก่ Trezor Model One และ Trezor Model T ความแตกต่างแต่ละรุ่นดูตารางนี้ได้เลยะครับ


สรุปข้อมูลฝั่งที่ไม่สามารถใช้งานบนมือถือได้ ตัวที่น่าสนใจจะมี  OneKey mini ที่จิ๋วแต่แจ๋วครับ ราคาเบา ๆ เพียง 2,400 บาท เหมาะกับการเริ่มต้นใช้งานครับ


หากยังไม่ตอบโจทย์ให้กลับไปที่ Flow บนสุดกันครับ ใครยังต้องการที่ใช้งาน Hardware wallet ทั้งบนคอมพิวเอตร์และมือถือด้วย จะต้องย้ายฝั่งมาดูฝั่งนี้ครับ

ต้องการใช้งานกับมือถือหรือไม่?

ต้องการใช้งานบนมือถือร่วมด้วย

ตัวที่สามารถใช้งานบนมือถือได้ ได้แก่ OneKey Classic 1S, OneKey Touch, OneKey Touch Pro และ Keystone ซึ่งจะฟีเจอร์พื้นฐานให้ใช้งานเหมือนกันครับ เช่น ติดตาม Portfolio เปิดการแจ้งเตือนการทำธุรกรรม, เทรดเหรียญ, โอนเหรียญ เป็นต้น แต่ก็จะมีการใช้งาน Wallet mobile เช่น MetaMask mobile เข้ามาแยกในประเด็นถัดไปครับ


มี Secure Element
Chip EAL6+ หรือไม่?

หลายคนที่กดข้ามมาที่ตรงนี้อาจจะยังไม่ได้อ่านว่า Secure Element
Chip คืออะไร?

Secure Element
Chip คือการออกแบบที่ทำให้ Hardware Wallet ปลอดภัยมากขึ้น โดยหน้าที่ของ Secure Element Chip มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นความลับมาก ๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเก็บ Seed Phrase หรือ Master Private Key นั่นเอง 

ไม่ต้องการ Secure Element
Chip EAL6+

 เลือก OneKey Touch 
ราคา 10,200฿ ได้เลยครับ แต่จะมีรุ่นอัพเดทจากตัวนี้ขึ้นมาอีกจะเป็น OneKey Touch Pro ครับ

ต้องการ Secure Element
Chip EAL6+

มีหลายรุ่นให้เลือก ได้แก่ OneKey Classic 1S, OneKey Touch Pro และ Keystone ครับ


เชื่อมต่อกับ DeFi App ผ่าน air-grapped หรือไม่?

Wallet mobile คือ การใช้งาน wallet บนมือถือผ่าน air-grapped เช่น MetaMask wallet, OKX wallet, Wallet connect เป็นต้น ยกตัวอย่างการใช้งาน MetaMask mobile บนมือถือ ซึ่งหลายคนสาย DeFi จะชอบใช้ connect กับโปรโตคอลต่าง ๆ เช่น Aave, Compound, Uniswap หรือ Synthetix เป็นต้น


ไม่เชื่อมต่อกับ DeFi App ผ่าน air-grapped หรือไม่

หากเราไม่ใช้สาย DeFi เน้นเก็บยาว ไม่ต้องการใช้งาน Wallet mobile เลือก OneKey Classic 1S ก็เพียงพอในราคาไม่แรงมาก 3,990 บาท สั่งซื้อที่นี่เลยครับ


ต้องการใช้ เชื่อมต่อกับ DeFi App ผ่าน air-grapped หรือไม่

หากเราเป็นสาย DeFi ใช้ Wallet mobile ไม่อยากเปิดคอมให้เสียเวลา แนะนำเป็น 2 รุ่นนี้ครับ OneKey Touch Pro และ Keystone ความแตกต่างดูได้ที่ตารางนี้เช่นเดิมนะครับ


งบประมาณน้อยกว่า 10,000 บาท?

มาถึงประเด็นสุดท้ายในจะใช้พิจารณา คือ เรื่องงบประมาณนั่นเองครับ ถือเป็นปัจจัยหลักในการซื้อ Hardware wallet สักอันเลยครับ 

ไม่ งบมากกว่า 10,000 บาท

ถ้าแบบจัดเต็มฟีเจอร์ครับ วัสดุดูดี ก็ต้องตัวนี้เลยครับ OneKey Touch Pro
ราคา 10,700 บาทครับ สั่งซื้อที่นี่เลยครับ 

ใช่ งบน้อยกว่า 10,000 บาท

วัสดุอาจจะยังสู้ไม่ได้ แต่ฟีเจอร์ครับพอ ๆ กัน แนะนำตัวนี้เลยครับ Keystone 3 Pro
ราคา 5,990 บาทครับ สั่งซื้อที่นี่เลยครับ 

 

สรุปสั้น ๆ กับการเลือก Hardware wallet 

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน Hardware wallet งบไม่เยอะ เน้นถือยาว ไม่ต้องการใช้งานบ่อย ๆ แนะนำ OneKey Mini ซื้อที่นี่ครับ

 

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งาน Hardware wallet และต้องการใช้งานบนมือถือด้วย ใช้รับเหรียญ โอนเหรียญ Swap เหรียญบ้าง แต่ไม่ได้ใช้สาย Wallet mobile สักเท่าไหร่ แนะนำ OnKey Classic 1S ครับ ซื้อที่นี่ครับ

 

สำหรับคนใช้งาน DeFi อยากใช้งาน Wallet mobile บนมือถือ สะดวกใช้งานง่ายผ่านมือถือไม่ต้องเปิดคอม ตัวเริ่มต้นแนะนำ Keystone 3 Pro สั่งซื้อที่นี่ หรือหากอยากได้วัสดุที่ดีขึ้นมาและใช้งานผ่านแอพ OneKey ได้แนะนำ OneKey Touch Pro
สั่งซื้อที่นี่ครับ

 

กลับไปยังบล็อก

1 ความคิดเห็น

สนใจมากครับ ขอเก็บตังค์ก่อน

อรรณนพ ลาวัณย์วิทย์

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่