Safepal เสริมทัพ Hardware Wallet ด้วย Safepal X1

Safepal เสริมทัพ Hardware Wallet ด้วย Safepal X1

Safepal X1 เป็นฮาร์ดแวร์ wallet อีกตัวหนึ่งที่อยู่ในคิวที่ผมจะนำมารีวิวให้เพื่อนๆได้เห็นฟีเจอร์และฟังก์ชันของมัน  ผมเคยมีโอกาสได้ใช้ Safepal S1 ช่วง 2-3 ปีที่แล้ว  ตัว Hareware wallet ของ Safepal ในตอนนั้นมาพร้อมกับ Air-Gap Technology  ซึ่งผมก็มีโอกาสได้รู้จักเทคโนโลยีนี้ตอนที่ทดลองใช้ Safepal S1 นี่แหละ  และในปี 2023 ทาง Safepal ได้เสริมทัพ Hardware Wallet  ด้วย Safepal X1 ที่มาพร้อมกับบลูทูธเทคโนโลยีและ Open Source ตามกระแสที่คนในชุมชนกดดันให้ผู้พัฒนาที่ Open Source ได้รับความนิยมกว่า Close Source


ความนิยมของ Hardware Wallet ในช่วงโควิด 19

ในช่วงขาขึ้นของบิตคอยน์รอบที่แล้ว Hardware Wallet ที่เข้ามาในตลาดก่อนในยุคแรกก็จะมี Trezor กับ Ledger ที่กินส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด  สาเหตุหนึ่งก็เพราะการเติบโตใน DeFi ช่วงบูลรันรอบที่แล้ว  มีคนเข้ามาในโลกของคริปโตเยอะมาก  แล้วหลายๆคนก็เข้ามาเล่นในส่วนของ DeFi ซึ่งการจะเล่น DeFi จำเป็นจะต้องใช้กระเป๋าที่มีความพร้อมในการที่จะเชื่อมต่อกับ DApp ในช่วงนั้นกระเป๋าที่นิยมอันนึงก็คือ Metamask ในช่วงแรกนั้นจึงทำให้ Trezor กับ Ledger เป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถที่จะเชื่อมต่อกับกระเป๋า Metamak ได้


Mobile First ในจีนและฮ่องกง

แต่ในประเทศที่มีคนใช้มือถือเยอะมากๆ อย่างในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เขาคิดที่จะหาวิธีที่จะทำยังไงให้ Hardware Wallet  สามารถเชื่อมต่อกับมือถือได้ เนึ่องจากคนส่วนใหญ่ในแถบนี้มีแต่มือถือ ไม่มีคอมพิวเตอร์เหมือนในอเมริกา หรือยุโรป 


Safepal เป็น Hardware Wallet อีกเจ้านึงที่พยายามที่จะแก้ช่องว่างตรงนี้ด้วยการนำเทคโนโลยี Air-Gap มาใช้และได้เริ่มส่งตัว Safepal S1 เข้ามาในตลาด  แต่ด้วยความที่มันจำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกับ DApp และ Metamask ไม่ได้เปิดให้ Safepal สามารถเชื่อมต่อได้ ทาง Safepal จึงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนมือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับ DApp ได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อผ่าน Metamask ในกรณีที่ผู้ใช้ Safepal S1 ต้องการจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ก็สามารถเชื่อมต่อได้ผ่าน Wallet Connect เนื่องจาก มันถูกออกแบบมาให้ใช้กับมือถือจริงๆ จึงต้องใช้ผ่าน Wallet Connect แทน


Safepal เริ่มอุดช่องว่างตลาด Hardware Wallet

ในช่วงนั้น Safepal ก็ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดไประดับนึงเลยทีเดียว  จริงๆ แล้ว Air-Gap Technology ส่วนตัวผมถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ดีทีเดียว  มันสามารถเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ได้โดยใช้กล้องถ่ายรูปกับ QR Code แสกนกันไปมา  ทำให้โอกาสที่จะถูกโจมตีในลักษณะ Man in the middle เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ที่น่าสนใจคือแล้วทำไม Safepal จึงส่ง Hardware Wallet ตัวใหม่ที่ไม่ได้ใช้ Air Grab Technology แต่กลับใช้ บลูทูธเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อกับมือถือแทน


มีอะไรใน Safepal X1

มองรูปร่างหน้าตาของ Safepal X1 ครั้งแรกนึกถึงตัว Hardware Wallet อีกยี่ห้อนึงชื่อ COLDCARD  ที่ Geek Bitcoiner นิยมใช้กัน เอาจริงๆ ผมว่าหน้าตาเหมือนเครื่องคิดเลขมาก  หน้าจอเป็นแบบ Mono Chrome  จอเล็กกว่า Safepal S1 แล้วก็ไม่ได้เป็นจอสีเหมือน Safepal S1  ตัว Secure Element Chip ยังเป็นมาตรฐาน CC EAL5+ ถ้าอย่างใน Trezor Safe 3 หรือ OneKey Classic จะเป็น CC EAL6+  เชื่อมต่อกับมือถือด้วยบลูทูธ 5  ตัวเคสทำมาจากพลาสติก ABS เท่าที่ผมดูอย่างอื่นก็ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่นอกจากเปลี่ยนวิธีการเชื่อมต่อกับมือถือจาก Air-Gap มาเป็นบลูทูธ


Open Source ใน Hardware Wallet เป็นกระแส

กระแส ​Open Source มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก  กับ Hardware Wallet  ถ้า Hardware Wallet ไหนที่เป็น Open Source จะได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชนมากว่า คำว่า Open Source หมายถึงเปิดเผย Source Code ให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ รวมไปถึงใครจะเอา source Code ไปพัฒนาต่อก็ได้ 


ผมคิดว่ามีหลายเหตุผลที่ทำไม Safepal ถึงมาใช้บลูทูธ  


อย่างแรกเลยคือผมคิดว่าเขาน่าจะไปเอาโค้ดจากของคนอื่นมาแล้วก็พัฒนาต่อ  ด้วยเหตุนี้เขาจึงต้อง เป็น Opensource อย่างที่สองมันก็เป็นข้อดีอันนึงที่ทำให้ Safepal มี Hardware Wallet ที่ Open Source เป็นตัวแรก  เพราะก่อนหน้านี้ในรุ่น Safepal S1 กับ Safepal S1 Pro ยังไม่เป็น Open Source เลย ซึ่งการ Close Source เป็นปัญหาหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ที่เข้าใจเรื่องของการเก็บบิตคอยน์และสินทรัพย์ดิจิตอลต่างๆ จะกังวลหาก Hardware Wallet ไม่ได้ Open Source คำว่า Open Source ในที่นี้หมายถึงต้อง Open Source ตัว Software ที่ใช้ติดต่อกับ Hardware Wallet และอย่างน้อยควรจะต้อง Open Source Firmware ด้วย 


ดูได้อย่างกรณีตัวอย่างของ Ledger ที่ Open Source เฉพาะตัว Ledger Live แต่ไม่ได้ Open Source ตัว Firmware คนในชุมชนก็รู้สึกไม่ไว้ใจ


เทียบ Safepal X1 กับรุ่นอื่น

ถ้าเทียบกับ Hardware Wallet ตัวอื่นในตลาดที่ดูเหมือนจะเทียบกันโดยตรงได้ แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ก็จะมี OneKey Classic ที่พัฒนามาจาก ​​​Trezor และเพิ่มเติม Secue Element Chip กับบลูทูธเข้าไป  กับ Ledger Nano X ที่มี Secue Element Chip เหมือนกันแล้วก็ใช้บลูทูธในการเชื่อมต่อกับมือถือเหมือนกัน โดยรวมผมคิดว่าซอฟต์แวร์ที่เป็นกระเป๋าของ Safepal เขียนมาค่อนข้างที่จะรองรับสายฟาร์มสาย DeFi ค่อนข้างดี ถ้าใครที่ชอบสายนี้ก็อาจจะรู้สึกว่ามันเจ๋ง ส่วน ​Ledger Nano X ก็ไปอาศัยฟีเจอร์ ของ Metamask แต่บนมือถืออาจจะไม่ได้รองรับ เนื่องจาก Ledger Nano X ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Metamask แอปพลิเคชั่นบนมือถือได้ Ledger Live บนมือถือก็เก่งเรื่อง DeFi ไม่เท่า Safepal X1   ในส่วนของ OneKey Classic ผมคิดว่าแนวทางของ OneKey ก็ไม่ได้ต่างกับ Safepal ในการที่พัฒนาซอฟต์แวร์บนมือถือให้ใช้งานง่ายและสามารถเชื่อมต่อกับ DeFi ได้ง่าย  ตอนนี้ต้องขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลแล้วว่าชอบรูปร่างหน้าตาของ Safepal X1 หรือ OneKey ส่วนตัวผมว่า Safepal X1 หน้าตามัน Geek ดีเหมือนเครื่องคิดเลขเลย


บทสรุป Safepal X1

โดยสรุป Safepal X1 ยังคงน่าสนใจสำหรับสายฟาร์ม สาย DeFi เพราะซอฟต์แวร์บนมือถือของ Safepal ไม่ใช่เพราะ Safepal X1 เอง การพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในการที่จะใช้ร่วมกับ DApp  อาจจะไม่ได้เหมาะกับสาย Hodler Bitcoin สักเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ กระแสกดดันเรื่อง Open Source มากกว่าที่ทำให้ Safepal ปรับตัวเองจากที่เคยเป็น Close Source มาเป็น Open Source ได้ 


ผมว่านี่เป็นทิศทางนึงที่เราพอจะได้เห็นกันว่า  ถ้าคุณอยากจะเติบโตในจักวารคริปโต  ความโปร่งใสเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง มันอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เรื่องเล็กน้อยที่สะสมไปเรื่อยๆ มันเป็นเรื่องใหญ่ ความไม่ไว้ใจก็เช่นกัน ความไม่ไว้ใจเล็กน้อยแต่สะสมไปเรื่อยๆ มันทำให้เราเกิดความไม่เชื่อใจกันได้ ใครที่เคยใช้ Safepal X1 คอมเม้นท์หน่อยครับว่าชอบตรงไหน  ส่วนใครที่ยังไม่เคยลองดูจากรูปแล้วชอบตรงไหนคอมเม้นท์กันได้เต็มที่เลยครับ 

กลับไปยังบล็อก

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะได้รับการเผยแพร่